article

ปกิณกะ 3.

จากเดือนทาง จันทรคติ ก็ต้องรู้ ขึ้น – แรมก่อน บอกแล้ว งานถือพรต ไม่ใช่แค่สวดมนตร์บวงสรวง กราบไหว้บูชา

ที่ยิ่งใหญ่ที่สุด คือ การท่องบ่นพระนามพระผู้เป็นเจ้า

(วันศิวาราตรี ต้องท่องทุกพระนาม และถือศีลอด. ไม่ดื่มแม้แต่น้ำ.)

แล้วจะบอกเล่าถึงพระนามสำคัญๆที่รู้จักกัน เพราะมีประมาณ 240 พระนาม

การสวดครบ 240 พระนาม เรียก มนตร์ นามวลี บูชา

(ถ้าจะสวดให้ครบ ก็จะเขียนให้ครบ.)

การสวด นามวลี บูชา  กับการอดอาหาร จะทำให้มีสมาธิสูงสุด และการถือศีลอดก็ต้องตรงตามวันเวลา ขึ้น – แรม แห่งพระจันทร์ การถือ พรต. ก็ควรทราบรายละเอียด และพิธีการ. (ถ้าไม่เบื่ออ่านจะเล่า.)

                        ข้างขึ้น – แรม. ทางภาษาสันสกฤต

วันขึ้น – แรม                    1. ค่ำ  วัน ประติปัท            (PRATIPADA.)    เฉพาะ แรม 1. ค่ำ กฤษณะ ปักษะ

วันขึ้น – แรม                    2. ค่ำ  วัน ทวิติยะ              (DVITIYA.)

วันขึ้น – แรม                    3. ค่ำ  วัน ตริติยะ              (TRITIYA.)

วันขึ้น – แรม                    4. ค่ำ  วัน จตุรธิ                (CHATURTAI.)

วันขึ้น – แรม                    5. ค่ำ  วัน ปัญจมี              (PANCHAMI.)

วันขึ้น – แรม                    6. ค่ำ  วัน ศัศติ                 (SHASHTI.)

วันขึ้น – แรม                    7. ค่ำ  วัน สัปตะมิ             (SAPTAMI.)

วันขึ้น – แรม                    8. ค่ำ  วัน อัษตะมิ             (ASHIMI.)          ทางไทยเรียก อัฐมิ หรือ อัฐมี

วันขึ้น – แรม                    9. ค่ำ  วัน นะวะมิ              (NAVAMI.)

วันขึ้น – แรม                    10. ค่ำ  วัน ทัศมิ               (DASAMI.)

วันขึ้น – แรม                    11. ค่ำ  วัน เอกทะษิ           (EKADASI.)

วันขึ้น – แรม                    12. ค่ำ  วัน  ทวัทษิ             (DVADASI.)

วันขึ้น – แรม                    13. ค่ำ  วัน ตระโยทะษิ       (TRAYODASI.)    วันแรม 13 ค่ำ เรียกวัน ตริตะละยา

วันขึ้น – แรม                    14. ค่ำ  วัน จตุรทษิ            (CHATURADASI.)

วัน ขึ้น    15. ค่ำ  (วันเพ็ญ)  วันปุรินิมา ทางไทยเรียก ปุณณมี

วัน แรม   15. ค่ำ  วัน อัมวัสยะ ทางไทยเรียก อมาวสี

วันเพ็ญเดือน 12 วันลอยกระทง เรียก วัน เกามุทีมโหตสวะ

เกามุที = โกมุท = ดอกบัวแดง (บัวหลวง.)

(คำว่าบัวมีหลายชนิด ชื่อต่างกัน.)

มหต = ใหญ่ โต (มห + ต.)

สว = รูป.

 

ทมยันตี/.