article

ภิษมะ อัศตะมิ

คำ อัศตะมิ บางทีเขียน ศัสตะมิ เพราะมาจากคำ สันสกฤต. มักใช้ ศ. มากกว่า คำนี้บอกแต่ต้นแล้วว่า

อัศตะมิ. คือวันขึ้น – แรม. 8 ค่ำ

ทางไทยใช้ อัฐมี (วันพระเล็ก วันพระใหญ่ คือ ขึ้น – แรม 15 ค่ำ วันพระใหญ่ คือ ขึ้น – แรม 15 ค่ำ)

             คำ ภิษมะ ในพจนานุกรม สํ เขียน ภีษฺมี แปลว่า น่ากลัว (horrible) และยังเป็นชื่อของ พระเจ้าอาว์ของเจ้าปาณฑุ (ฑ. อ่านเป็น ด. คือ d.) พยายามเขียนคำอ่านให้พอรู้บ้าง อยากรู้มากไปเรียนที่เกษตรศาสตร์. เรารู้จัก แต่อาจารย์ วิทยา ที่สอนเราท่านเกษียนแล้ว (คงโล่งอกไป)

                        ฉะนั้นถ้าจะแปลความนี้ ‘แรมที่น่ากลัว’

อ่านไปก็จะรู้เองว่า  ทำไมน่ากลัว

ถ้าคิดว่า ไม่อยากรู้ ก็อย่าอ่าน ไม่ว่ากัน (ก็ไม่รู้นี่นาว่า ใครอ่าน – ไม่อ่าน. จะว่าได้ยังงไงในช่วงเวลา ‘อันน่ากลัว.’ นี้มีวันสำคัญๆหลายวันเริ่มด้วย)

สักตะ จุฐ.          ในพจนานุกรม สํ สักตะ สกฺต แปลว่า สัมพันธ์

                        จุฐ. ที่นายห้างเขียนอีกครั้งคือ จุฑา คือ จุก,ผมจุก

พิธีของพราหมณ์ น่าจะเป็น จุฑาสัสการ คือ โกนจุก.

            ฉะนั้นควรเป็นวัน โกนจุก พระพิฆเณศ อันมิใช่วัน ‘คเณศ จาตุรธิ.’ ของวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน ภัทร คือเดือน 10. (บางคนยังเถียงกันว่า ขึ้นหรือแรม.)

                        ตำราเทพน่ะอ่านไปเถอะ เวล่ำเวลา. ไม่ค่อยจะตรงกันนัก

เอาเป็นว่า นับถือท่าน ศรัทธาท่าน ‘ทำตลุยๆไปเลย’ (ไม่แน่ใจ ทำไปก่อน.)

            ในตำราของนายห้าง. บอกตรงกัน ‘เป็นวันประสูติของพระพิฆเณศ’ แล้วพอเปิดวัน จตุรธิ. ก็บอกว่า ‘วันกำเนิดพระคเณศ.’ นายห้างไม่อยู่ให้ถามแล้ว ก็เขียนๆถามๆไป

แต่ใน ‘ตำนานเทพ’ ถือวัน หลังวันเพ็ญ 4 วัน เดือนภัทรบท (เดือน 10.) เป็นวัน จตุรุธิ (คือ แรม 4 ค่ำเดือน 10.)

                        พิธีกรรม คือการถือพรต (ถืออด คริสต์และอิสลาม.ก็มี ไทยมีตอนเข้าพรรษา ถ้าไล่เรียงไปจะพบว่า การถืออด. มีทุกชาติ) การถือพรต ทำได้ทั้ง ชาย – หญิง –เด็ก เริ่มด้วยเช้าตรู่ อาบน้ำชำระกายให้สะอาด แต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่ นำเทวรูปของพระคเณศวร ประดิษฐานบนแท่น บูชาด้วยดอกไม้หอม (ไม่ต้องใช้ดอกดาวเรืองเสมอไป.) ธูป (กำยาน) เทียน (ประทีป ทางอินเดียเคยมีประทีปน้ำมันเล็กๆ ทางเทวาลัยจะจุดยามมีงาน)

                        ในพิธีนี้ต้องเชิญพระจันทร์ กับ พระนางโรหิณีด้วย

ที่อัญเชิญพระจันทร์ ต้องถวายน้ำ กับ ‘ไนเวทย์.’ คืออาหารร้อน คงไม่ใช่ซุปหรอก ดูรูป. ก็ไม่มีบอกว่าอะไร แต่ สํ  แปล ไนเวทย์ ว่า เครื่องบวงสรวง. เราคิดว่า น่าจะแปลรวมๆว่า เครื่องบวงสรวงพระจันทร์ (ต้องแยกเล่า)

สำหรับพระพิฆเณศวร ก็อย่างเคย ขนมโมทะกะ ขนมหวาน (ไม่รู้จะใช้ขนม กุหลาบจามุน หรือเปล่า คือขนมแป้งกับน้ำตาลเชื่อมข้นๆ หวานจนแสบลิ้น) โมทะกะ ในเมืองไทยมีขายแล้ว แต่เพราะคนไทยบูชาท่านกันมาก แถวเฉลิมกรุงก็มี พาหุรัดก็มี แบบเก่าคือ ข้าวสวยคลุกงาปั้นเป็นก้อน ในตำรามีเท่านี้ (ทั้งสองเล่ม)ทางไทย ‘แถมขนม’ หวานของไทยอีก คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง หากทางอินเดีย ห้ามใช้ไข่. เพราะเป็นไข่มีเชื้อ มีชีวิต ตอนแรก ยังไม่มี ไข่ลม อย่างที่เรากินกัน รออ่านต่อละกัน

วิม-ลา