Your address will show here +12 34 56 78
article

คำ อัศตะมิ บางทีเขียน ศัสตะมิ เพราะมาจากคำ สันสกฤต. มักใช้ ศ. มากกว่า คำนี้บอกแต่ต้นแล้วว่า

อัศตะมิ. คือวันขึ้น – แรม. 8 ค่ำ

ทางไทยใช้ อัฐมี (วันพระเล็ก วันพระใหญ่ คือ ขึ้น – แรม 15 ค่ำ วันพระใหญ่ คือ ขึ้น – แรม 15 ค่ำ)

             คำ ภิษมะ ในพจนานุกรม สํ เขียน ภีษฺมี แปลว่า น่ากลัว (horrible) และยังเป็นชื่อของ พระเจ้าอาว์ของเจ้าปาณฑุ (ฑ. อ่านเป็น ด. คือ d.) พยายามเขียนคำอ่านให้พอรู้บ้าง อยากรู้มากไปเรียนที่เกษตรศาสตร์. เรารู้จัก แต่อาจารย์ วิทยา ที่สอนเราท่านเกษียนแล้ว (คงโล่งอกไป)

                        ฉะนั้นถ้าจะแปลความนี้ ‘แรมที่น่ากลัว’

อ่านไปก็จะรู้เองว่า  ทำไมน่ากลัว

ถ้าคิดว่า ไม่อยากรู้ ก็อย่าอ่าน ไม่ว่ากัน (ก็ไม่รู้นี่นาว่า ใครอ่าน – ไม่อ่าน. จะว่าได้ยังงไงในช่วงเวลา ‘อันน่ากลัว.’ นี้มีวันสำคัญๆหลายวันเริ่มด้วย)

สักตะ จุฐ.          ในพจนานุกรม สํ สักตะ สกฺต แปลว่า สัมพันธ์

                        จุฐ. ที่นายห้างเขียนอีกครั้งคือ จุฑา คือ จุก,ผมจุก

พิธีของพราหมณ์ น่าจะเป็น จุฑาสัสการ คือ โกนจุก.

            ฉะนั้นควรเป็นวัน โกนจุก พระพิฆเณศ อันมิใช่วัน ‘คเณศ จาตุรธิ.’ ของวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน ภัทร คือเดือน 10. (บางคนยังเถียงกันว่า ขึ้นหรือแรม.)

                        ตำราเทพน่ะอ่านไปเถอะ เวล่ำเวลา. ไม่ค่อยจะตรงกันนัก

เอาเป็นว่า นับถือท่าน ศรัทธาท่าน ‘ทำตลุยๆไปเลย’ (ไม่แน่ใจ ทำไปก่อน.)

            ในตำราของนายห้าง. บอกตรงกัน ‘เป็นวันประสูติของพระพิฆเณศ’ แล้วพอเปิดวัน จตุรธิ. ก็บอกว่า ‘วันกำเนิดพระคเณศ.’ นายห้างไม่อยู่ให้ถามแล้ว ก็เขียนๆถามๆไป

แต่ใน ‘ตำนานเทพ’ ถือวัน หลังวันเพ็ญ 4 วัน เดือนภัทรบท (เดือน 10.) เป็นวัน จตุรุธิ (คือ แรม 4 ค่ำเดือน 10.)

                        พิธีกรรม คือการถือพรต (ถืออด คริสต์และอิสลาม.ก็มี ไทยมีตอนเข้าพรรษา ถ้าไล่เรียงไปจะพบว่า การถืออด. มีทุกชาติ) การถือพรต ทำได้ทั้ง ชาย – หญิง –เด็ก เริ่มด้วยเช้าตรู่ อาบน้ำชำระกายให้สะอาด แต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่ นำเทวรูปของพระคเณศวร ประดิษฐานบนแท่น บูชาด้วยดอกไม้หอม (ไม่ต้องใช้ดอกดาวเรืองเสมอไป.) ธูป (กำยาน) เทียน (ประทีป ทางอินเดียเคยมีประทีปน้ำมันเล็กๆ ทางเทวาลัยจะจุดยามมีงาน)

                        ในพิธีนี้ต้องเชิญพระจันทร์ กับ พระนางโรหิณีด้วย

ที่อัญเชิญพระจันทร์ ต้องถวายน้ำ กับ ‘ไนเวทย์.’ คืออาหารร้อน คงไม่ใช่ซุปหรอก ดูรูป. ก็ไม่มีบอกว่าอะไร แต่ สํ  แปล ไนเวทย์ ว่า เครื่องบวงสรวง. เราคิดว่า น่าจะแปลรวมๆว่า เครื่องบวงสรวงพระจันทร์ (ต้องแยกเล่า)

สำหรับพระพิฆเณศวร ก็อย่างเคย ขนมโมทะกะ ขนมหวาน (ไม่รู้จะใช้ขนม กุหลาบจามุน หรือเปล่า คือขนมแป้งกับน้ำตาลเชื่อมข้นๆ หวานจนแสบลิ้น) โมทะกะ ในเมืองไทยมีขายแล้ว แต่เพราะคนไทยบูชาท่านกันมาก แถวเฉลิมกรุงก็มี พาหุรัดก็มี แบบเก่าคือ ข้าวสวยคลุกงาปั้นเป็นก้อน ในตำรามีเท่านี้ (ทั้งสองเล่ม)ทางไทย ‘แถมขนม’ หวานของไทยอีก คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง หากทางอินเดีย ห้ามใช้ไข่. เพราะเป็นไข่มีเชื้อ มีชีวิต ตอนแรก ยังไม่มี ไข่ลม อย่างที่เรากินกัน รออ่านต่อละกัน

วิม-ลา

0

article

ลืมเรื่องนี้แล้วซิ ว่าทางฮินดู ที่เราเรียกกันว่า ทางเทพ เพราะเรานับถือ เทพ ทางฝ่ายฮินดู โดยลืมว่าเทพทางไทยก็มี เช่น พระอินทร์ไง กับเทพ.ทางจีน บางคนก็บอกเทพ.ทางคริสต์ เช่น เซนต์.ต่างๆ ซึ่งคิดว่าน่าจะแยกเล่าแต่ละศาสนา เพราะเทพต่างๆมาจาก ‘ต้นสาย’ นับขึ้นไปถึง ลัทธิ โซโรอัสเตอร์ ที่นับถือพระอัคนี จนมาถึง ฤษีบูชาไฟ

หลวงพ่อสด. พระอาจารย์ชื่อดัง ก็บูชาไฟ

เรา ‘ รับ ’ เทพต่อๆกันมา จนจำไม่ได้ว่ามาจากไหนกันบ้าง

เดวิด โบห์ม กับ รูเพิร์ต เชลเดร็ก กล่าวไว้ว่า (สองท่านเป็นนักฟิสิกส์ โนเบล ไพรซ์)

‘ ในศตวรรษที่ 21. เทวศาสตร์ วิทยาศาสตร์. จะรวมกันสนิท ’

(ไปหาอ่านซะ หรือๆไม่ก็รอให้เราอ่านจบ แล้วจะเล่าให้ฟัง)

            เมื่อเขียนแล้วว่า ปฏิทินของฮินดู แบ่งอย่างไร มีชื่อว่าอะไร การเขียนนี้จึงใช้ชื่อตามปฏิทิน อยากรู้ว่าทางไทยคือ วัน เดือน ปี อะไร ก็กลับไปเปิดอ่านอ่านทวน 2 – 3 เที่ยวจะจำได้เอง (เพราะคล้ายๆทางไทย.)

            บอกไว้แต่ต้นว่า จะเริ่มจาก ฤดู ศศิระ  คือฤดูลมหนาว (ไม่ใช่ฤดูหนาว – เหมันตะ) อยู่ราวเดือน ฆาฆะ และเดือนผลคุณ (เดือน มาฆะ อินเดียมักจะออกเสียง มารฆะ คือรัวลิ้นอยู่เสมอ) ถ้าปฏิทินไทย ก็คือ เดือนสาม – เดือนสี่ ถ้าเป็นเดือนสากลคือ มกราคม – มีนาคม

            ต้องบอกว่า ‘ตำรา’ ได้มาจากนายห้าง ร้านกุลดิป. ที่เป็นเพื่อนซี้.กับเรา (เพราะใครเคยได้ของแถม ของฝากจากแขกมั่ง บางชิ้นขอกำไร บาทเดียว เพราะการค้าการขาย ต้องมีกำไร ) ตอนนี้ นายห้างก็ ซี้.คือ มรณัง คัจฉามิ ไปแล้ว เหลือแต่ตำราให้เราเอามาใช้นี่แหละ

                                    แต่ตำรา 2 เล่ม ไม่ ‘ค่อย’ เหมือนกัน

                                    พอเราถาม (ตอนอยู่.) ก็ตอบเราหน้าตายเลย

“เล่มมีวันหยุด 68 วัน ละเอียดกว่า

เล่ม 58 วัน ย่อลงเฉพาะที่สำคัญ ค่ากระดาษ คำพิมพ์ แพง

แจกฟรี แล้วยังจะถามอีก รู้ๆแค่นั้นก็พอ”

            รู้แล้วนะ เข้าใจตรงกันนะ

            ฉะนั้นเราก็ใช้ทั้งสองเล่มมาเทียบกัน เลือกความที่ดีที่สุด มาเล่าสู่กันฟัง ใครไปอินเดียจะได้พอรู้บ้างว่าคนอินเดียเขามีงานอะไร

                                    โดยเฉพาะ งานกุมภาเมลา.

ที่มีคนในพาราณสี. นับแสน ครั้งที่แล้วเป็นล้าน

มีฤษี. ไปชุมนุมกันมากที่สุด (ยังไงๆก็ต้องเล่าฤา. มิใช่ เพราะฤาษีนุ่งลมห่มฟ้าเป็นแสนมารวมกัน)

            ในช่วงเทศกาลศิศระ เขาขึ้นต้นด้วย

ภิษมะ อัศตะมิ (BHISHMA ASHTAMI)

ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ แห่งเดือน มารฆะ คือ เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์

ค่อยๆอ่านทีละน้อยนะ เขียนยาวก็ไม่อ่าน อ่านทีละนิดสนุกดี อ่านแล้วจะเข้าใจ ทำไมอินเดียมีเทศกาลมาก.

วิม-ลา.

0

article

คำว่า ปุณ คือคำว่า บุณย์, บุญ ที่เราคุ้นเคยกัน แต่คำ บุณย์ เราไม่ใช้กันแล้ว

คำว่า คล (คะ-ละ) พจนานุกรม สํ แปลว่า กิน ไหล หยด

 

วันนั้นถ้าเป็นไทยๆ คงว่า เป็นวันไปร่วมกินบุญ

 

ข้อสำคัญบอกว่า เป็น “วันสันกรานติ” ภาษา สํ เขียน สงฺกฺรานฺติ เป็นเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นจุดสูงสุดในทิศเหนือ (ทางโหรคือ เข้าราศี เมษ) และจะค่อยๆ ไปยังทิศตรงข้าม (ทิศใต้)

 

อินเดียโดยเฉพาะทางอินเดียใต้ จะประกอบพิธีถึง 3 วัน เป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริง ยินดี ก็เหมือนสงกรานต์บ้านเรา ที่เรารับมาจากพม่า และหรือพม่าจะรับมาจากอินเดีย

 

พม่านับถือพุทธที่ปนผีมากกว่าไทย

พระเจ้าทันใจที่ไปไหว้กันน่ะ ไม่ใช่พระ แต่เป็นผีนัทของพะม่า

เรายังซื้อหุ่นผีนัท ไว้ น่าจะเอาออกมาให้ไหว้กระซิบ “ขอ” กันนะ

เรื่องนี้เก็บไว้เล่าตอน เรื่องของพะม่าจะดีกว่า

 

กรรมพิธีวันแรก เรียกว่าวัน โภคิ – ปุณคัล (Bhogi – Pongal) โภคิ มาจากโภค เป็นวันที่จะรื่นเริงยินดีรับทรัพย์ (หรือเสียทรัพย์) เพราะเป็นวันไปเยี่ยมญาติมิตร (ไม่ใช่ไปญาติมิตร คือ เล่นไพ่ แต่คนอินเดียชอบเล่นไพ่ป็อก) มีอาหาร ขนม ไปแจกกับ มีการละเล่น (ที่เห็นคือ เต้นรำร้องเพลง แบบหนังแขกแหละ)

 

วันที่สองคือ วันสุริยะ – ปุณคัล (Suriya – Pongal) คาดว่าวันนี้คือวันที่พระอาทิตย์เข้าสู่เมษ เป็นวันสงกรานต์พิธีกรรมคือตื่นแต่เช้าตรู่ อาบน้ำ แต่งกายด้วยชุดใหม่ แล้วบูชาพระอาทิตย์

 

เครื่องบูชา (บวงสรวง) บวง แปลว่า เซ่นไหว้ สรวง แปลว่า ฟ้า คำเก่าใช้ บำบวง

สิ่งที่บำบวง คือ ข้าวสุกหุงกับนม น้ำตาล เนย งา

คำสวดคือ ปุณคัล ปุณคัล ปุณคัล มีแค่นี้แหละง่ายดี

แล้วนำอาหารไปถวายพระอาทิตย์ ที่เหลือรับประทาน (ข้าวหุงกับนมหอมดี)

 

วันที่สามมัตตุ ปุณคัล (Mattu – Pongal)

คำ มัตตุ คงเขียนตามเสียง เพราะเป็นอักษรต้อง มัสตุ หรือ มัสดุ แปลว่า เนยเหลว จึงเข้าท่า หาคำแปลได้ บาลีเขียน มฺตถุ

 

วันนี้เป็นวัน นมัสการโค เพราะใช้งานมาทั้งปี จึงมีงานแท้งกิ้ว สักวันก็ดี

วันนี้คุณโคจะถูกอาบน้ำ เขาโคทาสีสวย มีผ้าห้าสีผูก คล้องมาลัย เรียกว่าเต็มยศละกัน

จากนั้นจะต้องเดินเวียนรอบพระโค 3 รอบ

ก่อนปล่อยไปหาบุฟเฟ่ต์กินเอง (ห้ามคนทำร้ายเด็ดขาด แม้ไปกินผักผลไม้คนอื่น)

 

เท่าที่เห็นในอินเดีย จะมีวัวจรจัดมากมาย ถ้าตัวไหนมีผ้าสีผูก หรือทาสีที่เขา แปลว่าเป็นวัวที่ปล่อยถวายพระผู้เป็นเจ้า

 

ใครไปอินเดีย เบรกชนวัว ต้องเผ่น ก่อนจะถูกชาวบ้านรุม

ถ้าชนคน..พอพูดกันได้

อินเดียมีเรื่องให้นินทามากมาย เอาไว้อ่านตอนนินทาอินเดีย

 

วิม-ลา

 

 

0