Your address will show here +12 34 56 78
article

มกร สังกรานติ (MAKAR SANKRANI)
คำว่า มกร คือ มังกร คำว่า สังกรานติ อธิบายแล้ว

วันมกร สังกรานติ เป็นวันที่ กำหนดวันเลย ไม่ต้องใช้ ขึ้น – แรม คือวันที่ 14 มกราคม ของทุกปี คือ … เป็นวันเริ่มต้นแห่งพระอาทิตย์เดินทางไปทิศเหนือ เป็นวันมงคลยิ่งใหญ่ของอินเดียเหนือเท่าๆ กับวัน ปุณคล ของทางภาคใต้ และวันนี้ยังมีอีกชื่อ คือ

 

อุตตรยัน สังกรานติ

อุตตร คือ อุดร ทิศเหนือ

อุตตรยัณ คือ คราวที่ดวงอาทิตย์เดินเหนือเส้นศูนย์สูตร

 

ในตอนนี้จะรวมคำ ที่เดียวกับฤดูเสียเลย คือ

เห-มายัณ เวลาที่พระอาทิตย์ โคจรไปทางขั้วโลกใต้ จุดไกลที่สุดจากเส้นศูนย์สูตร

ราววันที่ 22 ธันวาคม มีกลางคืนนานกว่ากลางวัน (Winter Solstice)

ศรีษมายัน (สํ ใช้ตัว ณ) วันที่ดวงอาทิตย์ อยู่สูงสุดในทิศเหนือ ไกลสุดจากเส้น

ศูนย์สูตร ราววันที่ 21 – 22 มิถุนายน กลางวันจะนานกว่ากลางคืน

 (ศรีษมะ = คินทะ , เห-มา คือ เหมันตะ ) มายน = เดิน เคลื่อนที่

 

วิษุวัต คือวันที่มีกลางวันกับกลางคืนเท่ากันพอดี Equinox มี

            ศราท วิษุวัต เกิดในฤดู ศรทะ (ใบไม้ร่วง) คือเทศกาลทำบุญเดือนสิบ ราววันที่ 22-23 กันยายน

            วสันต วิษุวัต กลางวันกับกลางคืนในฤดูฝน ราววันที่ 21 มีนาคม

 

วันนี้คล้ายกับวันปีใหม่ (แต่เดือนมกราคมคือเดือนยี่) ตามเคยต้องชำระล้างร่างกายในแม่น้ำศักดิ์สิทธ์ โดยเฉพาะแม่น้ำคงคา โดยเฉพาะบริเวณ คงคา สคร (GANGA SAGAR)

คำว่า GANGA คือ แม่น้ำคงคาแหละ แต่ภาษาอังกฤษเขียนอย่างนั้น

สคร หรือ สาคร คือชื่อพระราชาอโยธยา (อยุธยาของไทยนำชื่อมาจากอโยธยา ภายหลังเหลือ อยุธยา) เมืองของท้าว สาคร ที่มีโอรส 6 หมื่นองค์ไปมีเรื่องกับ กปิล (กะปิละฤาษี) จนถูกเผาเป็นเถ้าถ่านหมด อย่าสงสัย มีลูก 6 หมื่นองค์ ตำราละเอียดจะเขียนตอบ ตำนานเทพ

ต่อมาได้ถูกช่วยให้ขึ้นสวรรค์ ด้วยการอัญเชิญ พระแม่คงคาลงมาพรมน้ำมนตร์ ดังนั้นจุดของที่ตั้งเมือง อโยธยา ตรงแม่น้ำคงคาไหลสู่มหาสมุทรอินเดีย จึงศักดิ์สิทธิ์ ถ้าไปอาบน้ำตรงนั้นจะได้ขึ้นสวรรค์

นอกจากนั้นต้องเตรียมเครื่องสังเวยถวายพระอาทิตย์ อุทิศทานคนจน ผู้ยากไร้

            แต่ในแคว้นปัญจาป เรียกว่า วันโลฮรี (Lohli)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

            วันโลฮรี (Lohli)

            แคว้นปัญจาปอยู่ทางภาคเหนือ ขณะสตรีอินเดียห่มสาหรี คนแคว้นนี้ผู้หญิงจะนุ่งกางเกงรัดข้อเท้า ใส่เสื้อตัวยาวถึงข้อเท้า ผ่าข้าง มีผ้าฟาดไหล่ (เราชอบชุดของปัญจาป)

            ทางปัญจาญถือว่า วันนี้เป็นการบอกถึงการสิ้นสุดฤดูหนาว จะย่างเข้าฤดูร้อน จึงมีการจุดกองไฟ (อย่าทำในบ้านล่ะ) แล้วก็ร้องเพลง เต้นระบำแขก ตีกลอง โยนขนมลงกองไฟให้พระอาทิตย์

อาหารสำคัญที่ถวายต่อเทพเจ้า และพระสุริยาทิตย์ คือ ข้าวโพดต้ม (คงต้องแกะก่อน) เอามาปรุงด้วย เกลือ มะนาว พริกป่น (ถ้าเป็นข้าวโพดเนย คงจะดีกว่า แต่เขาคงรู้กันว่า เทพท่านโปรดอย่างนั้น)

วิม-ลา.

0

article

เมื่อเริ่มเขียนมาได้ 2-3 เทศกาล จังเอะใจว่า ตำราของนายห้างไม่ค่อยเรียงตาม ‘ติธิ’ คือ ดิถีในวิธีเรียกของไทย และบอกแล้ว สองเล่มก็ไม่ ‘ค่อย’ จะเหมือนกัน เรียกว่านายห้าง ‘อินิ ตามใจฉานนะนาย’  (ถ้ายังอยู่คงกลับไปทะเลาะกัน แล้วก็จะโดนถามว่า..จะไปทำทำไมทุกวัน แค่ไหว้ท่านทุกวัน ทำพิธีเฉพาะงานใหญ่ๆ ก็พอ และนายห้างเองก็ทำอย่างนั้น เราเห็นหิ้งในร้าน มีธูปจุด ก้านธูปเต็ม ทีแรกคิดว่า..คงไหว้พระอย่างเราทำกัน ต่อมาจึงสังเกตว่าเป็น เทวรูปพระศิวะ งามมาก ก็ขอซื้อเอาดื้อๆ นายห้างสั่นหัว เพราะเป็นเทพีที่บูชาทุกวัน ก็ขอ..ขอ..ขอ จนวันหนึ่งมองหน้าเรานิ่งๆ ก่อนบอกว่า ..ซื้อมาคิดเป็นเงินไทยราว 500 บาท ต้องให้ 501 บาท ต้องมีกำไร 1 บาท ใครจะไปต่อล่ะ เราทิ้งท้ายก็คิดว่าคงหนักมาก แต่..เบาหวิว..ไม่ใช่ปาฏิหาริย์หรอกน่า เป็นกระดาษที่ประกอบมาจากองค์จริง ทาสีเหมือนองค์จริง เพราะนายห้างบอกว่า ..จำลองจากองค์จริงของ อินเดีย)

ที่เล่ายาวเพราะ นายห้างไม่เคยตั้งเทวรูปพระศิวะที่เดิมอีกเลย และต่อมาก็เสียชีวิต เทวรูปพระศิวะ ยังตั้งเป็นประธานในที่ทวยเทพ ให้เราไหว้ต่อมาด้วยความรำลึกถึง ‘เพื่อน’ ที่ให้ตำราทวยเทพมาศึกษา และเวลามีชีวิตจะอ่านพระเวทให้เราฟังบางบท ที่เขาสาธยายได้

ใครก็ตามที่ให้ความรู้ คือ คุรุ แห่งเราทั้งสิ้น

หากเมื่อตำราอธิบายจากปฏิทิน ไม่เรียง และเราไม่ได้เทียบกับปฏิทิน จึงเห็นว่าไม่เรียง ติธิ  (ดิถี) แต่ก็อีก บอกแล้วทาง อินเดีย นับถือทางจันทรคติ ขึ้น – แรม ฉะนั้นวันสำคัญจึงนับตาม ขึ้น – แรม แต่ละเทศกาลของแต่ละปี จึงไม่ตรงกัน เช่น ปี 2536 วันแรกคือ วันสักตะ จุฐ แต่พอปี 2556 ปีนี้วัน  โลหลี (Lohri)

ฉะนั้นต่อไป วันสำคัญให้ยึด ขึ้น – แรม ของเดือน

และอ่านแค่ว่า ‘เขาทำอะไรกัน’

อย่า ‘ยึดตามตำรา’ ว่าอะไรก่อนหลัง

ให้ไล่เรียงแต่ละปี ว่าช่วงนั้น ขึ้น – แรม อย่างไร (ถ้าหาปฏิทินได้)

จะทราบว่า การทำพิธี ทำอะไรก่อน – หลัง เป็นลำดับ

ตำราจะยึด วิธีปฏิบัติ ตามที่นายห้างเขียนไว้ แต่คงยึดหลักทางอินเดีย ที่เราอ่านพอรู้บ้าง การจะนับถืออะไร ควร ‘เรียนรู้’ บ้าง

เทศกาลเทพ ในอินเดีย จะทำให้ พอรู้ว่า พิธีกรรมเทพมีอะไร

เหมือนชาวพุทธต้องรู้ว่า วันสำคัญทางศาสนาพุทธมีอะไร

สำหรับบทสวดถวายเทพ จะพยายามหาบทย่อ ลงทีหลัง

บทยาวๆ ภาษาสันสกฤต น่าจะยากไป (สวดชินบัญชร กับธรรมจักร จำได้ไหมล่ะ)

‘รู้’ ต้องลึก (ซึ้ง) ด้วย รู้ผิวเผิน จะได้อะไร

อ่านไปเล่นๆ เถิด จะรู้มากขึ้น (เห็นไหม รู้มากดีนะ)

วิม-ลา.

0

article

เมานิ อัม – วัสยะ (MAUNI AMAVASYA.)

คำว่า อัมวัสยะ คือ แรม 15 ค่ำ ถ้าทางไทย วันอัมมาวสี

คำว่า เมานิ ภาษา สํ แปลว่า ดุษณียภาพ  (Silence)

วันนี้ถ้าตรงกับวันจันทร์ จะถือเป็นวันยิ่งใหญ่ มีมงคลมาก วันนี้คือ วันแรม 15 ค่ำ แห่งเดือน มารฆะ ผู้ถือพรต นอกจากถืออด ต้อง อด – กลั้น (อดโทสะ โมหะ ทั้งหลายให้หมด ดีนะ) แล้วไปจุ่มตัวอาบน้ำในแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ (ผู้ที่อยู่ในพาราณสี คงไปแม่น้ำคงคา ในเมืองอื่น  คงใช้แม่น้ำสายอื่น เพราะแม่น้ำทุกสายศักดิ์สิทธิ์หมด)

วันนี้เป็นวันบูชาพระวิษณุเทพ อาบน้ำแล้วต้องไปเดินรอบต้น ‘อัสวัตถะ’ คือ ต้นไทรสามสอบ เนื่องจากใน ภควัตคีตา พระกฤษณะ ร่างอวตารของพระวิษณุเทพ – นารายณ์ รับสั่งว่า

..ระหว่างต้นไม้ทั้งหมด ข้าคือ อัสวัตถะ..

            ทางอินเดียว่า อัสวัตถะ คือต้นไทร แต่ทางไทย อัสสัตถพฤกษ์ คือ ต้นโพ โพใบ และบอกว่าคำ โพธิคำนามคือโพ

                        ฉนั้นกลายเป็น ไม้คนละชนิดเลย ระหว่าง โพ กับ ไทร

แต่ทางไทยนับต้น โพธิเป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ (แต่ก็พบต้นไทรรวมๆไว้)

จึงมีคำ..ร่มโพธิ ..ร่มไทร.. เพราะไม้ใหญ่ ใบดก ให้ร่มกว้าง

            เอาละจะร่มโพธิ ร่มไทรก็เวียนเสียสามรอบ ถ้าเป็นผู้มีศรัทธาพอสมควร คงพอ หากเป็นผู้มีศรัทธาแรงกล้าจะไป..

                        ณ สถานที่เรียกว่า ปรยัค (PRAGAD) ปรฺยต คือ ระงับ ไทยเอามาใช้ว่า ประหยัด

คือสถานที่อัน แม่น้ำคงคา ยมุนา สรัสวดี ไหลมารวมกันเรียก หริทวาร

คนไทยรู้จักกันดี ในชื่อ จุฬาตรีคูณ อยู่ที่ ฤษีเกศ (ฤษีลงมาสระผม เห็นทุกเช้าจริงๆ)

เราเคยไปอาบน้ำที่นั่น น้ำใส เย็นยั่งกับออกมาจากตู้เย็น ทิวทัศน์สวยมาก และหากเดินขึ้นภูเขาไป จะขึ้นถึง โคมุขคือจุดที่มีแอ่งน้ำ น้ำไม่เป็นน้ำแข็ง ทั้งๆ ที่บนภูเขา และรอบแอ่งน้ำมีแต่หิมะ แต่แอ่งน้ำตรงนั้นน่าจะมีน้ำพุร้อนข้างล่าง จึงเป็นแอ่งน้ำสีหยด แต่ฤษี นุ่งผ้าโธตีผืนเดียว เดินหน้าตาเฉย เท้าเปล่า ไม่มีแม้แต่รองเท้าแตะด้วย

นักพรตนอกจากฤษี จะมาพักสถานที่นี้เป็นเดือน เพื่อทำพิธีกรรม ‘กัลป์ปะ – วัส’ (KALPA – VAS)

กัลป ทาง สํ ว่า ช่วง

วัสส ทาง สํ ว่า ฤดูฝน

ฉนั้นน่าจะเหมือนเราเข้าพรรษา (คือ วัสสะ) สามเดือน

หากตลอดเวลาที่พำนักเขาจะร้องเพลงสวดสรรเสริญเทพเจ้า (ของไทยสวดมนตร์) และรับประทานอาหารเพียงมื้อเดียว (ของไทยถือศีลแปด) หรือ กินผลไม้อย่างเดียว หรือ ดื่มแต่น้ำกับนมเท่านั้น

ในอินเดียจะพบนักพรต กินแต่ผลไม้ หรือดื่มนมอย่างเดียวได้เสมอ

สาธุ ที่เก่งมากจะอดอาหาร ดื่มแต่น้ำ ก็ปรากฏเป็นข่าวบ่อยๆ บางตน ‘เขาว่า’ (ในยูทูป) ไม่มีกินอะไรเลย

(เสพปราณ ต้องมีวิธี)

อยากไปไหม (อยากตายไหม)

วิม-ลา.

0

article

            อย่าคิดว่าจะทำตำราของนายห้างกุลดิป มาลอกง่ายๆ นะ เพราะนายห้างเขียนภาษาไทยแบบคนอินเดียพูดไทย คือตัวสะกดจะแผกเพี้ยน จนต้องยึดคำจากภาษา สํ เป็นหลัก คำภาษาของอินเดีย ก็มีทั้งอินเดียเหนือ อินเดียใต้เหมือนๆ กับคำไทยกลาง – ล้านนา – อีสาน – ใต้ ต้องมานั่ง ‘ตีความ’ บอกแล้วคนทิ้งตำราไว้ให้ก็ไปเฝ้าพระผู้เป็นเจ้าเรียกแล้ว ไม่รู้จะถามยังไง

            อย่างเขียนไว้ สักตะ จูฐ น่ะ กว่าจะหาว่า เป็น จุฑา ก็เปิดพจนานุกรมทั้ง สํ ทั้ง ฮินดู

ต่อมานิทานที่ต่อท้าย พระนางรัตนาวตี กับอีกเล่มเขียน รัตนาวลี

เราก็ว่า เหมือนๆ กันแหละ จึงเลือก รัตนาวตี เพราะคำว่า วตี ไทยใช้ วดี แปลว่า นางแก้ว

หากพอทวนพจนานุกรม สํ รัตนาวตี  แปลว่า เครื่องประดับคอ น่าก็คงเป็น อัญมณี แหละ

ที่ต้องอธิบาย เพราะ ‘อย่าประมาณภาษา สํ’ เพราะเวลาแปล มันจะยุ่ง

อ่านสนุกๆ กับภาษาคั่นบ้างก็ได้ อย่างคำ มนตรี พจนานุกรมไทยแปลว่า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ปรึกษา แนะนำ

แต่ มนตรี ใน สํ ไม่มี มีแต่ มนตรี , มตฺริ แปลว่า ปรึกษาหารือ

ถ้า มนฺตฺริน จึงแปลว่า ที่ปรึกษา

ถ้า มนฺตฺร คือ มนตร์ เลย คำอธิบายละเอียดทำให้ได้ความรู้ .. สูตรอันเป็น บุณยะ แด่เทพองค์ใดองค์หนึ่ง (สวดมนตร์ถวาย) เช่น

            โอม วิษณเว นมห (นะ-มะ-ห คือ นมัช หรือ นมัส)

หรือคำชี้แจง มีอยู่คำหนึ่ง ‘ไศล’ เราอ่าน สะไหล (Slai) เรื่อยมา แปลว่า ภูเขา

            ที่จริงทาง สํ ผิด! คำนี้ต้องอ่าน ไศ – ละ (Saila.)

ฉนั้นในการเขียน จึงพยายามเทียบ ภาษาเขียนของนายห้างกุลดิป กับภาษา สํ อันเป็นต้นแบบของ ฮินดู ให้ชัดเจน ผู้อ่านจะได้ความรู้ว่า ‘อินเดียเขามีอะไรกัน’ และความรู้ทางภาษา สํ   ซึ่งใช้ในภาษาไทยมากเช่นกัน

            เช่น ในหนังสือ ‘อภิธาน สํ –ไทย – อังกฤษ’

            ผู้ขอร้องให้ค้นหาคำศัพท์สันสกฤต คือ ขุนโสภิตอักษรการ

และผู้ลิขิต คือ นายร้อยเอก หลวงบวรบรรณารักษ์ (นิยม รักไทย)

                        วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469

                        ถนน รองเมือง จังหวัดพระนคร

เราได้อาศัยอภิธานนี้เป็นคู่มือตลอดมา แม้แต่การค้นข้อความในพระเวท (เฉพาะตอน) ที่เป็นภาษาสันสกฤตอังกฤษล้วน

            ปีนี้ 2563 จวนครบ 100ปี ที่คุรุรจนา

            จึงต้องน้อมนมัสการไว้

ข้อสำคัญ บรมครู ด้านภาษาสันสกฤต

คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ท่านประทานคาถาไว้บทหนึ่ง

โอม ภควเต วาสุเดวายะ รามยะ

โอม วาสุเทวายะ (บทสั้น)

ที่เราสวดทุกคืนก่อนนอน ลองสวดบ้างไหม

วิม-ลา.

0

article

ประเพณี สักตะจูฐ เล่าไปแล้ว และก็เป็นประเพณีของอินเดีย เช่นกัน คือต้องมีบรรยายประกอบว่าทำไมต้องมีประเพณีแบบนี้ คนอ่านคงชอบมากกว่าฟังเรื่องประเพณีแท้

เรื่องของเรื่องคือ ในกาลครั้งหนึ่ง (จะครั้งไหนก็ช่าง อ่านไปเหอะ) มีพระราชาองค์หนึ่งทรงพร้อมด้วยทศพิธีราชธรรม (มี 10 ประการ อยากรู้ไปเปิดพจนานุกรม ) มีพระมเหสี พระนาม รัตนาวตี (RATNAWATI) ในตำราของอินเดียจะต้องรำพันถึงความงดงาม เฉลียวฉลาดเสมอ  แต่เคราะห์กรรมทำให้มีข้าศึกมารุกราม จนเสียเมืองต้องเสด็จไปอยู่ป่า (ตอนนี้ป่าไม่มีจะอยู่ ไฟไหม้หมดแล้ว)

วันหนึ่ง (จะวันไหนก็ช่าง) ไปพบฤษีตนหนึ่ง (ฤษีใช้ตน ถ้าองค์ จะเป็นชั้นราช ชั้นเทพ หรือ ชั้น พรหม) ฤษีตนนี้คือ มรกันเทยะ (MAKANDEYA) พระราชาก็เล่าเรื่องทุกข์ร้อนให้ฟัง พระฤษี ท่านก็ต้องตรวจคำให้การก่อนว่า จริงหรือไม่

ท่านทำสมาธิแล้วก็รู้ความจริง โดยไม่ต้องอาศัยพยานเอกสารมีแต่พยานบุคคล

พอลืมตา ท่านก็ว่าเป็นฉากๆเลย

อ๋อ..ในอดีตเคยทำบาปมานี่ เคยเป็นกษัตริย์นักล่าสัตว์ (รวมเสือดำด้วยหรือเปล่าไม่รู้ แต่ฟังไว้)

แต่เคยประกอบพิธี สักตะจูฐ เป็นประจำ ต่อมาก็หยุดไปเฉยๆ (จะเพราะลืม หรือ เศรษฐกิจตกต่ำก็ไม่รู้ ) ฉะนั้นกลับชาติมาเกิดใหม่เป็นกษัตริย์ แต่..บุคคลโบ๋เบ๋แล้ว เหลือแต่บาป (เหมือนเบิกหมดบัญชีนั่นแหละ) ฉะนั้นจะต้องทำพิธีถือพรตอดอาหารอีกครั้ง (ทำง่ายมาก เพราะอยู่ป่า ก็ไม่มีอะไรจะกินอยู่แล้ว เหมือนคนไทยทั้งประเทศกำลังคือศีลอด โบราณท่านบอกแล้ว ถ้าบ้านเมืองอาเพศ ให้สวดมนตร์ ถือศีลอด 15 วัน เราจึงต้องกักตัว 14 วัน คำทำนายและทำนางตรงเผ็งไหมล่า)

            พระราชากับนาง รัตนาวตี (คำว่า วตี หรือ วดี ก็แปลว่านาง)

             จึงถือศีล (กินมาม่า) บูชาพระคเณศ

ตอนจบ ก็จบเอาดื้อๆ

..และก็ได้ราชอาณาจักรคืน มีความผาสุกดังเดิม

(พวกเราก็ถืออดอยู่นี่ เขาก็จะคืนความสุขให้น่า..เข้าใจตรงกันนะ)

            ฉะนั้นในวันขึ้น – แรม 4 ค่ำ ของทุกเดือน ให้ถือเป็นวันบูชาพระคเณศ โดยถือศีลอด ทำสมาธิสวดบูชา

                        แล้วก็จะมีความสุข ตลอดไปเชิดชัย..ไชไย

คนไทยที่กำลังถือศีลตอนนี้ อดๆไปก่อนะเดี๋ยวดีเอง (ก็อดตายไง)

พอเจ้าโคเจ้าขวิดจนเหนื่อยก็คงไป

ผลดีก็มีนะ ทำให้เรารู้จัก ‘อยู่กับเหย้า เฝ้าแต่เรือน’

มีสันทนาการ ทำมิตรไมตรีในบ้าน (แต่บางบ้านอารมณ์เสียใส่กัน เกิดอริราชศัตรูในบ้าน)

คนรวยอย่าพูดถึง บาป แต่คนฐานะกลางๆ จะจนลง (ทำใจดีๆ เดี๋ยวหัวใจวายก่อน)

คนจนจะรู้จักคำว่า ‘ยาจก’

เห็นแมะ..เราได้รู้อะไรมากขึ้น..

รออ่านต่อไปนะ

วิม-ลา.

0

article

คำ อัศตะมิ บางทีเขียน ศัสตะมิ เพราะมาจากคำ สันสกฤต. มักใช้ ศ. มากกว่า คำนี้บอกแต่ต้นแล้วว่า

อัศตะมิ. คือวันขึ้น – แรม. 8 ค่ำ

ทางไทยใช้ อัฐมี (วันพระเล็ก วันพระใหญ่ คือ ขึ้น – แรม 15 ค่ำ วันพระใหญ่ คือ ขึ้น – แรม 15 ค่ำ)

             คำ ภิษมะ ในพจนานุกรม สํ เขียน ภีษฺมี แปลว่า น่ากลัว (horrible) และยังเป็นชื่อของ พระเจ้าอาว์ของเจ้าปาณฑุ (ฑ. อ่านเป็น ด. คือ d.) พยายามเขียนคำอ่านให้พอรู้บ้าง อยากรู้มากไปเรียนที่เกษตรศาสตร์. เรารู้จัก แต่อาจารย์ วิทยา ที่สอนเราท่านเกษียนแล้ว (คงโล่งอกไป)

                        ฉะนั้นถ้าจะแปลความนี้ ‘แรมที่น่ากลัว’

อ่านไปก็จะรู้เองว่า  ทำไมน่ากลัว

ถ้าคิดว่า ไม่อยากรู้ ก็อย่าอ่าน ไม่ว่ากัน (ก็ไม่รู้นี่นาว่า ใครอ่าน – ไม่อ่าน. จะว่าได้ยังงไงในช่วงเวลา ‘อันน่ากลัว.’ นี้มีวันสำคัญๆหลายวันเริ่มด้วย)

สักตะ จุฐ.          ในพจนานุกรม สํ สักตะ สกฺต แปลว่า สัมพันธ์

                        จุฐ. ที่นายห้างเขียนอีกครั้งคือ จุฑา คือ จุก,ผมจุก

พิธีของพราหมณ์ น่าจะเป็น จุฑาสัสการ คือ โกนจุก.

            ฉะนั้นควรเป็นวัน โกนจุก พระพิฆเณศ อันมิใช่วัน ‘คเณศ จาตุรธิ.’ ของวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน ภัทร คือเดือน 10. (บางคนยังเถียงกันว่า ขึ้นหรือแรม.)

                        ตำราเทพน่ะอ่านไปเถอะ เวล่ำเวลา. ไม่ค่อยจะตรงกันนัก

เอาเป็นว่า นับถือท่าน ศรัทธาท่าน ‘ทำตลุยๆไปเลย’ (ไม่แน่ใจ ทำไปก่อน.)

            ในตำราของนายห้าง. บอกตรงกัน ‘เป็นวันประสูติของพระพิฆเณศ’ แล้วพอเปิดวัน จตุรธิ. ก็บอกว่า ‘วันกำเนิดพระคเณศ.’ นายห้างไม่อยู่ให้ถามแล้ว ก็เขียนๆถามๆไป

แต่ใน ‘ตำนานเทพ’ ถือวัน หลังวันเพ็ญ 4 วัน เดือนภัทรบท (เดือน 10.) เป็นวัน จตุรุธิ (คือ แรม 4 ค่ำเดือน 10.)

                        พิธีกรรม คือการถือพรต (ถืออด คริสต์และอิสลาม.ก็มี ไทยมีตอนเข้าพรรษา ถ้าไล่เรียงไปจะพบว่า การถืออด. มีทุกชาติ) การถือพรต ทำได้ทั้ง ชาย – หญิง –เด็ก เริ่มด้วยเช้าตรู่ อาบน้ำชำระกายให้สะอาด แต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่ นำเทวรูปของพระคเณศวร ประดิษฐานบนแท่น บูชาด้วยดอกไม้หอม (ไม่ต้องใช้ดอกดาวเรืองเสมอไป.) ธูป (กำยาน) เทียน (ประทีป ทางอินเดียเคยมีประทีปน้ำมันเล็กๆ ทางเทวาลัยจะจุดยามมีงาน)

                        ในพิธีนี้ต้องเชิญพระจันทร์ กับ พระนางโรหิณีด้วย

ที่อัญเชิญพระจันทร์ ต้องถวายน้ำ กับ ‘ไนเวทย์.’ คืออาหารร้อน คงไม่ใช่ซุปหรอก ดูรูป. ก็ไม่มีบอกว่าอะไร แต่ สํ  แปล ไนเวทย์ ว่า เครื่องบวงสรวง. เราคิดว่า น่าจะแปลรวมๆว่า เครื่องบวงสรวงพระจันทร์ (ต้องแยกเล่า)

สำหรับพระพิฆเณศวร ก็อย่างเคย ขนมโมทะกะ ขนมหวาน (ไม่รู้จะใช้ขนม กุหลาบจามุน หรือเปล่า คือขนมแป้งกับน้ำตาลเชื่อมข้นๆ หวานจนแสบลิ้น) โมทะกะ ในเมืองไทยมีขายแล้ว แต่เพราะคนไทยบูชาท่านกันมาก แถวเฉลิมกรุงก็มี พาหุรัดก็มี แบบเก่าคือ ข้าวสวยคลุกงาปั้นเป็นก้อน ในตำรามีเท่านี้ (ทั้งสองเล่ม)ทางไทย ‘แถมขนม’ หวานของไทยอีก คือ ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง หากทางอินเดีย ห้ามใช้ไข่. เพราะเป็นไข่มีเชื้อ มีชีวิต ตอนแรก ยังไม่มี ไข่ลม อย่างที่เรากินกัน รออ่านต่อละกัน

วิม-ลา

0

article

ลืมเรื่องนี้แล้วซิ ว่าทางฮินดู ที่เราเรียกกันว่า ทางเทพ เพราะเรานับถือ เทพ ทางฝ่ายฮินดู โดยลืมว่าเทพทางไทยก็มี เช่น พระอินทร์ไง กับเทพ.ทางจีน บางคนก็บอกเทพ.ทางคริสต์ เช่น เซนต์.ต่างๆ ซึ่งคิดว่าน่าจะแยกเล่าแต่ละศาสนา เพราะเทพต่างๆมาจาก ‘ต้นสาย’ นับขึ้นไปถึง ลัทธิ โซโรอัสเตอร์ ที่นับถือพระอัคนี จนมาถึง ฤษีบูชาไฟ

หลวงพ่อสด. พระอาจารย์ชื่อดัง ก็บูชาไฟ

เรา ‘ รับ ’ เทพต่อๆกันมา จนจำไม่ได้ว่ามาจากไหนกันบ้าง

เดวิด โบห์ม กับ รูเพิร์ต เชลเดร็ก กล่าวไว้ว่า (สองท่านเป็นนักฟิสิกส์ โนเบล ไพรซ์)

‘ ในศตวรรษที่ 21. เทวศาสตร์ วิทยาศาสตร์. จะรวมกันสนิท ’

(ไปหาอ่านซะ หรือๆไม่ก็รอให้เราอ่านจบ แล้วจะเล่าให้ฟัง)

            เมื่อเขียนแล้วว่า ปฏิทินของฮินดู แบ่งอย่างไร มีชื่อว่าอะไร การเขียนนี้จึงใช้ชื่อตามปฏิทิน อยากรู้ว่าทางไทยคือ วัน เดือน ปี อะไร ก็กลับไปเปิดอ่านอ่านทวน 2 – 3 เที่ยวจะจำได้เอง (เพราะคล้ายๆทางไทย.)

            บอกไว้แต่ต้นว่า จะเริ่มจาก ฤดู ศศิระ  คือฤดูลมหนาว (ไม่ใช่ฤดูหนาว – เหมันตะ) อยู่ราวเดือน ฆาฆะ และเดือนผลคุณ (เดือน มาฆะ อินเดียมักจะออกเสียง มารฆะ คือรัวลิ้นอยู่เสมอ) ถ้าปฏิทินไทย ก็คือ เดือนสาม – เดือนสี่ ถ้าเป็นเดือนสากลคือ มกราคม – มีนาคม

            ต้องบอกว่า ‘ตำรา’ ได้มาจากนายห้าง ร้านกุลดิป. ที่เป็นเพื่อนซี้.กับเรา (เพราะใครเคยได้ของแถม ของฝากจากแขกมั่ง บางชิ้นขอกำไร บาทเดียว เพราะการค้าการขาย ต้องมีกำไร ) ตอนนี้ นายห้างก็ ซี้.คือ มรณัง คัจฉามิ ไปแล้ว เหลือแต่ตำราให้เราเอามาใช้นี่แหละ

                                    แต่ตำรา 2 เล่ม ไม่ ‘ค่อย’ เหมือนกัน

                                    พอเราถาม (ตอนอยู่.) ก็ตอบเราหน้าตายเลย

“เล่มมีวันหยุด 68 วัน ละเอียดกว่า

เล่ม 58 วัน ย่อลงเฉพาะที่สำคัญ ค่ากระดาษ คำพิมพ์ แพง

แจกฟรี แล้วยังจะถามอีก รู้ๆแค่นั้นก็พอ”

            รู้แล้วนะ เข้าใจตรงกันนะ

            ฉะนั้นเราก็ใช้ทั้งสองเล่มมาเทียบกัน เลือกความที่ดีที่สุด มาเล่าสู่กันฟัง ใครไปอินเดียจะได้พอรู้บ้างว่าคนอินเดียเขามีงานอะไร

                                    โดยเฉพาะ งานกุมภาเมลา.

ที่มีคนในพาราณสี. นับแสน ครั้งที่แล้วเป็นล้าน

มีฤษี. ไปชุมนุมกันมากที่สุด (ยังไงๆก็ต้องเล่าฤา. มิใช่ เพราะฤาษีนุ่งลมห่มฟ้าเป็นแสนมารวมกัน)

            ในช่วงเทศกาลศิศระ เขาขึ้นต้นด้วย

ภิษมะ อัศตะมิ (BHISHMA ASHTAMI)

ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ แห่งเดือน มารฆะ คือ เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์

ค่อยๆอ่านทีละน้อยนะ เขียนยาวก็ไม่อ่าน อ่านทีละนิดสนุกดี อ่านแล้วจะเข้าใจ ทำไมอินเดียมีเทศกาลมาก.

วิม-ลา.

0

article

คำว่า ปุณ คือคำว่า บุณย์, บุญ ที่เราคุ้นเคยกัน แต่คำ บุณย์ เราไม่ใช้กันแล้ว

คำว่า คล (คะ-ละ) พจนานุกรม สํ แปลว่า กิน ไหล หยด

 

วันนั้นถ้าเป็นไทยๆ คงว่า เป็นวันไปร่วมกินบุญ

 

ข้อสำคัญบอกว่า เป็น “วันสันกรานติ” ภาษา สํ เขียน สงฺกฺรานฺติ เป็นเวลาที่พระอาทิตย์ขึ้นจุดสูงสุดในทิศเหนือ (ทางโหรคือ เข้าราศี เมษ) และจะค่อยๆ ไปยังทิศตรงข้าม (ทิศใต้)

 

อินเดียโดยเฉพาะทางอินเดียใต้ จะประกอบพิธีถึง 3 วัน เป็นเทศกาลแห่งความรื่นเริง ยินดี ก็เหมือนสงกรานต์บ้านเรา ที่เรารับมาจากพม่า และหรือพม่าจะรับมาจากอินเดีย

 

พม่านับถือพุทธที่ปนผีมากกว่าไทย

พระเจ้าทันใจที่ไปไหว้กันน่ะ ไม่ใช่พระ แต่เป็นผีนัทของพะม่า

เรายังซื้อหุ่นผีนัท ไว้ น่าจะเอาออกมาให้ไหว้กระซิบ “ขอ” กันนะ

เรื่องนี้เก็บไว้เล่าตอน เรื่องของพะม่าจะดีกว่า

 

กรรมพิธีวันแรก เรียกว่าวัน โภคิ – ปุณคัล (Bhogi – Pongal) โภคิ มาจากโภค เป็นวันที่จะรื่นเริงยินดีรับทรัพย์ (หรือเสียทรัพย์) เพราะเป็นวันไปเยี่ยมญาติมิตร (ไม่ใช่ไปญาติมิตร คือ เล่นไพ่ แต่คนอินเดียชอบเล่นไพ่ป็อก) มีอาหาร ขนม ไปแจกกับ มีการละเล่น (ที่เห็นคือ เต้นรำร้องเพลง แบบหนังแขกแหละ)

 

วันที่สองคือ วันสุริยะ – ปุณคัล (Suriya – Pongal) คาดว่าวันนี้คือวันที่พระอาทิตย์เข้าสู่เมษ เป็นวันสงกรานต์พิธีกรรมคือตื่นแต่เช้าตรู่ อาบน้ำ แต่งกายด้วยชุดใหม่ แล้วบูชาพระอาทิตย์

 

เครื่องบูชา (บวงสรวง) บวง แปลว่า เซ่นไหว้ สรวง แปลว่า ฟ้า คำเก่าใช้ บำบวง

สิ่งที่บำบวง คือ ข้าวสุกหุงกับนม น้ำตาล เนย งา

คำสวดคือ ปุณคัล ปุณคัล ปุณคัล มีแค่นี้แหละง่ายดี

แล้วนำอาหารไปถวายพระอาทิตย์ ที่เหลือรับประทาน (ข้าวหุงกับนมหอมดี)

 

วันที่สามมัตตุ ปุณคัล (Mattu – Pongal)

คำ มัตตุ คงเขียนตามเสียง เพราะเป็นอักษรต้อง มัสตุ หรือ มัสดุ แปลว่า เนยเหลว จึงเข้าท่า หาคำแปลได้ บาลีเขียน มฺตถุ

 

วันนี้เป็นวัน นมัสการโค เพราะใช้งานมาทั้งปี จึงมีงานแท้งกิ้ว สักวันก็ดี

วันนี้คุณโคจะถูกอาบน้ำ เขาโคทาสีสวย มีผ้าห้าสีผูก คล้องมาลัย เรียกว่าเต็มยศละกัน

จากนั้นจะต้องเดินเวียนรอบพระโค 3 รอบ

ก่อนปล่อยไปหาบุฟเฟ่ต์กินเอง (ห้ามคนทำร้ายเด็ดขาด แม้ไปกินผักผลไม้คนอื่น)

 

เท่าที่เห็นในอินเดีย จะมีวัวจรจัดมากมาย ถ้าตัวไหนมีผ้าสีผูก หรือทาสีที่เขา แปลว่าเป็นวัวที่ปล่อยถวายพระผู้เป็นเจ้า

 

ใครไปอินเดีย เบรกชนวัว ต้องเผ่น ก่อนจะถูกชาวบ้านรุม

ถ้าชนคน..พอพูดกันได้

อินเดียมีเรื่องให้นินทามากมาย เอาไว้อ่านตอนนินทาอินเดีย

 

วิม-ลา

 

 

0

article

การใช้คำ สันสกฤต. จะแปลอย่างนี้ ..คติของดวงอาทิตย์ หรือดาวพระเคราะห์ดวงอื่น จากภูจักรหนึ่งไปสู่อีกภูจักหนึ่ง (ถ้าเป็น สงฺ กฺษย,สังกษัย คือความพินาศของโลก แล้วจะเขียน คอยอ่านแล้วกัน.)

ถ้าทางฝ่ายไทย. จะบอกว่า เป็นเวลาที่พระอาทิตย์ ย่างขึ้นสู่ ราศีเมษ เป็นการขึ้นปีใหม่อย่างไทย ที่จริงคนไทยเคยนับการขึ้นปีใหม่อย่างเก่าคือ เดือนอ้าย แบบฮินดูต่างหาก เรา ‘ถูกบังคับ’ ให้นับวันสงกรานต์แบบพะม่าต่างหาก

จำไม่ได้เหรอ วันเนาว์สงกรานต์ เราเสียกรุงไง

ไปอ่านกษัตริยา. เสียไป๊

ไหนๆก็รับมาแล้ว และก็สนุกดี จะเป็นไรไป เราจะไม่เขียนเรื่อง นางสงกรานต์ เพราะเราก็เปิด ยูทูป. ดูเหมือนกัน บอกละเอียดดีด้วย (ลูกเพิ่งสอนให้เปิด.) เราเพียงตะหงิดๆในใจ

มาดามสงกรานต์ ท่านขี่เสือ (ปีนี้ผู้หญิงจะดู เป็นใหญ่)

แถมถือไม้เท้ากับ ขันน้ำ

เลยมีข้อคิดสองทาง ทางแรก คนไทยจะมั่นคงขึ้น (มีไม้เท้าค้ำยันไง.) กับจะชุ่มชื่นขึ้น เพราะมีขันรดน้ำ อบนวดคงเฟื้องฟู. กับอีกทาง อีตาชูชกก็ถือไม้เท้า ถือขันขอทาน

หรือเศรษฐกิจเราจะเป็นแบบ ชูชกโมเดล.

แล้วมาดามก็เสวยน้ำมันเป็น ภักษาหาร! ท่านเสวยไปเสียหมด น้ำมันแพง แน่นอน ทั้ง น้ำมันรถ น้ำมันครัวเรือน และน้ำมันอบนวด ม่านเหวยน้ำมันมวยหรือเปล่าก็ไม่รู้

แต่สิ่งที่ท่าน ‘ให้’ คือ อาหารปาปะ ได้ข้าว 1. ส่วน (  เสียหาย  9 ส่วน. )

และ ‘นาคให้น้ำ 1. ตัว.’

มาดาม!  ปีนี้ท่านให้นาคมาองค์เดียว เท่านั้นเร้อ น้ำคงกะปริบกะปรอย  (หรืออย่างคุณยายว่า ถ้านาคให้น้ำน้อยตัวจะไม่เกี่ยงกัน. น้ำจะมาก ถ้าให้หลายๆตัว ท่านจะ..ท่านไปก่อนซิ ท่านล่ะ..ไปก่อน ฉะนั้นถ้าตัวเดียว อาจจะให้สุดกำลัง น้ำอาจจะท่วมก็ได้ ) เลิกวิตกจริตกับท่านเหอะ

เล่าเรื่อง ล้านนาเทวาลัย. ก่อนแล้วจะ ‘ฝอย’ ให้ฟังต่อ

ทุกปีเราสรงน้ำเทวรูปที่ เทวาลัย และมีการ ดำหัว ขอพร. กัน ปีนี้ ถูกกักตัวหมด ทำหน้าหงอยเป็นลิงจับหมัด (เคยเห็นไหมมันนั่งต่อกันเป็นแถว หาหมัดต่อๆกันไป แล้วใส่ปาก เพราะไม่มีอะไรจะกินไง.)

ฉนั้นเราจะทำกันเป็นการภายใน

สรงน้ำบนหอพระ แล้วสรงเทวรูปที่หอเทพ

เจ้าแม่กวนอิม. (ถึงท่านจะเป็นจีน หากอยู่เมืองไทยก็จะสรงน้ำถวาย กับ เจ้าแม่ทับทิม.)

สวนความว่าจะ สรงเทวรูปทั้งหมด และ ดิน น้ำ ลม ไฟ

เครื่องสรงจะมี น้ำดอกไม้ (น้ำลอยดอกมะลิ – กุหลาบ.) น้ำอบไทย ทากระแจะจันทร์ (คือแป้งหอม กับถวายดอกไม้หอม)

ใครอยากถวายน้ำสรง ไม่ต้องมา (ไงๆก็ไม่ได้)

สั่งไปทางเจ้าหน้าที่เทวาลัย. ก็ได้ จะจัดไว้ให้

ถามกับเอาเองนะว่า เขาจะจัดให้อย่างไร

เครื่องเสวยจะเป็น ถั่ว งา ธัญพืช ฯลฯ สำรับใหญ่สำรับเดียว ใครอยากถวายหรืออยากได้อะไรไปโรยหน้าประตูบ้านถามมาก่อน จะส่งไปให้ (โรยถั่วไว้ จะได้เก็บถั่วกินไง.)

ปีนี้ทำบุญทาง อิเล็กโทรนิค สนุกดีนะ

(แล้ว เรา จะเล่าโลกอนาคต จน สังกษัย. คือดับแหงแก๋ ว่ามีอะไรบ้าง. เข้าใจตรงกันนะ) หรือไม่อยากฟัง..ก็ดี..ไม่เล่า

วิม-ลา
0

article

ถ้าเราเกิดในยุโรป ยุคล่าแม่มด เราถูกเผาเป็นกุ้งย่างไปแล้วละ เพราะชอบเล่าเรื่องแปลกๆ รวมทั้งวิธีการรักษาโรคแปลกๆ (แต่จริง.) เช่น เสกน้ำกินเอง หายเอง การกินน้ำมากๆจะช่วยระบายความร้อนจากร่างกายเป็นไข้ เป็นหวัด. ก็ช่วยได้

อาการของเจ้าโควิด (ขวิด.) มันคืออาการของไข้หวัดที่กลายพันธุ์ ฤทธิ์รุนแรงขึ้น ตอนนี้ได้ข่าวว่ามันรวมตัวกันแผลงฤทธิ์ยิ่งกว่าเดิม ตามเคย..โจมตีที่จีนก่อน คงเป็นโควิด 20. อย่างที่เคยพูดเล่นๆ ไม่คิดว่ามันจะทำจริง ถ้ามัน ‘หมัยใหม่’ ขึ้น ลองใช้วิธีการแบบเก่าดูบ้างไหม

            เรื่อง น้ำ บอกไปแล้ว ไม่ต้องวิ่งหาคาถา นโม ตัสสะ ก็ได้ แต่ต้องทำ จิตนิ่ง จึงมีพลัง

            ต่อไปคือ ลม. (ยังไม่ต้องถึงกับ กินดิน กินไฟ หรอกน่า.)

ชาวพุทธรู้ดีอยู่แล้ว เวลาทำสมาธิ เราจะจับลมหายใจ ฉะนั้นไม่ต้องอธิบายมาก เจ้าโค.ตัวนี้ โจมตีปอด ใครมีปัญหาทางเดินหายใจ จะแม้มันง่ายๆ ลมหายใจนั้น นอกจากจะสูด อ๊อกซิเย่น  เข้าไปแล้ว ทางโยคศาสตร์. บอกว่ายัง สูด ปราณ ลมหายใจแห่งชีวิตเข้าไปด้วย

            ปราณ. จะให้ ชีวพลัง และ ล้างปอด

            ปราณ. อยู่ ในที่โล่ง สะอาด มีกลิ่นคาวนิดๆ (นึกออกไหม โอโซนไง.)

            โยคี. จึงอยู่ตามภูเขา ต้นไม้ให้ อ๊อกซิเย่น มาก และมีโอโซน

มนุษย์สูดลมหายใจทุกขณะ หากมิรู้ใช้ ฤทธี ของลมหายใจ ชำระปอดตัวเอง ทำให้อายุยืน ผิวพรรณดี

            ลองง่ายๆนะ ไม่ต้องถามถึง การใช้ปราณ (มันยาวมาก)

แค่สูดลมหายใจ ลึก ยาว ให้สุด (จนเต็มปอด)

กัก. ไว้ 1. วินาที แล้วค่อยผ่อนออก

เราหายใจกันสั้นๆกระชั้น ปอดยังใช้อ๊อกซิเย่นไม่หมด หายใจออกแล้ว

การกักลมหายใจ 1.วินาที ทำให้ปอดใช้อ๊อกซิเย่น หมด

อ๊อกซิเย่น. เป็นตัวฆ่าเชื้อที่ดี (อย่าเพิ่งสนใจปราณ)

หายใจยาวๆ เข้าออก 3 ครั้ง แล้วหยุด       (อย่าทำมาก ถ้าไม่คุ้นจะหน้ามืด)

หมั่นทำอย่างนี้ ตื่นตอนเช้า – ก่อนนอน และเท่าที่นึกได้ วันละ 4 – 5 ครั้ง

ปอดจะแข็งแรง ขับพิษ

และ ลม นี่แหละ จะทำให้น้ำในร่างกายสะอาด (เหมือนตู้ปลา ที่เขาใส่อ๊อกซิเย่นไง)

ลองดูนะไม่เห็นเสียหายอะไรเลย แค่อยู่เฉยๆ ‘ หายใจให้เป็น ’ ก็ช่วยตัวเองได้ หับที่เราเคยรักษาอาการหวัดสมัยเด็ก คือเก็บยอดใบกระเพรา วางไว้ข้างหมอน

ต้องกระเพราแดงนะ ใบเล็กๆ กลิ่นจะแรง

กระเพราะขาวใบโต ไม่ค่อยหอม

ทางอินเดียนับถือ เจ้าแม่ตุลสี (กระเพราแดง) เขาต้องปลูกไว้หน้าบ้าน

เพราะยามลมพัดเข้าบ้าน กลิ่นจะโชยเข้าบ้านด้วย

                        คราวหน้า ‘กิน.’ ละนะ กินน้ำ – หายใจ.ไปก่อน

ผัดกระเพรากินซะ (ไม่ตายหรอก)

 

วิม-ลา.

0