Your address will show here +12 34 56 78
article

ขอบคุณยิ่งต่อผู้มาเยือนล้านนาเทวาลัย ในวัน อมฤตโชค ประดาเพื่อนแก้ว แพงพัน ที่มาชุมนุมกัน นักล้ำ นักเหลือ และผู้ส่งความทางเฟสมากมาย

 

ตามปรกติ มิเคยสนใจ ‘งานวันเกิด’

หากปีนี้ อาจารย์ วิลักษณ์ กับ คุณน้อย อัญชลี ศรีป่าซาง

อ้างว่าเราเป็น ‘คนเถ้าคนเถิบ’ คือแก่แล้ว  (จะอยู่จัดวันเกิดสักกี่วัน)

ฉะนั้นเราก็ยอมปล่อยให้เขาทำกันไป (ธุระอะไรคนเถ้าจะเหน็ดเหนื่อย)

ไม่รู้จริงๆ จนได้เห็นพร้อมกับคนมางานว่า

เขาจัดงานได้ งาม คนฟ้อนก็มาจากคนที่ร่างแค้วเอวกลมที่เคยชมชื่น

คนฟ้อนดาบ คือ คนที่เคยแสดง แหล่งให้คนชม ที่น่าน

คนจัดงาน ‘รู้ใจ’ ว่าเปิงใจสิ่งใด (ฝีมือดนตรี คุ้นหู จำได้ว่า ใครบ้าง)

ขอขอบคุณหลายนะเจ้า

 

ขอบคุณที่สุดคือ ‘นางรอมแพง’ และ ไอ่นาย. ที่อุตสาห์ไปงาน พร้อมดอกเก็ดถวา ที่ชอบนักมาส่งให้ ‘เก็บดอกไม้จากบ้าน มาใส่พานถวายเทพ’ ทุกดอกที่หอบใส่อ้อมมือมา

 

ตอนเย็นย่ำ หายแส๊บหายสอยกันหมด

เราไปแตะกลีบ อุ่นอายละไอรัก เก็บจารจำไว้

จะบอกอะไรให้ ได้มากกว่านี้อีกเน้อ

 

ขอบคุณมิตรเก่า ที่พบกันตั้งแต่เริ่มมาเป็น ‘ชาวล้านนา’ คนเขียนแบบเทวาลัย ให้เราพักพิง คนแต่งเฮือนให้งามก้านกุ่ง คน ‘เยิรเงาสลัว’ และแฝงอยู่ในเงานั้น ตึงหมู่ตึงมวล กล่าวมิหมด

 

เงินคำกำแก้ว บ่มีค่า

เท่าใจ๋ฮักที่นำมาวางมอบให้

จักจรดจารจำไว้เนื้อใจ

ยามวันวายจะทอดร่าง ณ ล้านนา

 

ด้วยรักด้วยศรัทธาต่อกัน
उมยันติ่/
0

article

เราบอกแล้วบอกอีก ปี 63 มันจะยุ่งเป็น ไหมพันกัน (ปมไหม เส้นเล็ก แก้ยาก) และก็บอกมฤตยูกุมดวงเมืองอยู่ 7 ปี ก็แย่แล้ว

ที่แย่กว่าคือ การโคจรของ “คุณตาราหู”
และแถมด้วย เสาร์ กับ พฤหัส (เปิดยูทูปดูก็ได้)
หากที่คนโบราณกลัวคือ คราส คุณตาราหูท่าน ‘เล่น’ อะไรแต่ละครั้ง… ดีใจหาย ร้ายหมดตัว..
เราก็บอกให้ ถือตราราหูคู่หัตถ์ไว้
หรือเอาห้อยคอไว้

ที่บอกกันว่า .. เหอะ แค่เงาโลก กลัวอะไร.. แต่พอเกิดเหตุ ‘คราส’ ทีไร จะมีสถิติบอกไว้เลยจะเกิดอะไรบ้าง (อย่าง ร.4 ท่านไปทอดพระเนตรสุริยคราส ที่หว้ากอไง ไปหารายละเอียดอ่านซะ)

ใน 2-3 วันนี้ คือ คืนวันที่ 5 มิถุนายน 63
จะเกิด จันทรคราส ต่อไปปลายเดือน สุริยคราส
โดนกระทบสองเด้งเลย
ไปอ่านคำทำนายของโหรดังเอาเองอีกแหละ

หากเราจะ ‘ทำพิธี’ ถวาย “คุณตาราหู” ของเราเองที่ เทวาลัย เพราะ มีตราราหู สูรย์ – จันทร์ ลงยันตร์ ประกบกันไว้ คนห้อยตราราหู สูรย์-จันทร์ โบราณบอกว่าจะกันภัย

‘ภัย’ ในระยะนี้ นอกจากโรคภัย พาลภัย ทุกขภัย
ระวังจะเจอ ทุกขภิกขภัยด้วย
‘ภัยโรค’ จะเบียนมีมา
สองครั้ง สองครามิได้หยุด
ภัยพาล ตามฆ่าให้ม้วยมุด
ความอดอยาก จะสุดแผ่ลาม

ลอกมาให้อ่าน เชื่อมิเชื่อก็ได้
เอาที่พอใจนะหนู

คุณยาย
0

article
เป็นเทศกาลของแคว้น แบงคาล
คำว่า ทส แปลว่า ชิ้น ส่วน
 
งานนี้เป็นของพระกฤษณะ คงแปลว่า ภาคของพระกฤษณะ
นักบวชที่แต่งชุดสีส้ม นั่นแหละ กลุ่มบูชา พระกฤษณะ
ปุรณิมา คือ วันเพ็ญ 155 ค่ำ ก็นำเทวรูปพระกฤษณะ ออกมาบูชา ด้วยเครื่องหอม ดอกไม้ แบบเดียวกับบูชาพระวิษณุเทพ
เล่นดนตรี ที่ถูกต้อง ร้องเพลง
 
แต่ตำราตอนนี้ บอกว่า ให้ร้อง ไชโยด้วย
(เรื่อง พระกฤษณะ สองเล่มโตๆ เล่าไม่ไหว)
ฉนั้น..รู้กันแล้วนะ
 
วิม-ลา
0

article

บางเทศกาลในตำราสั้นมาก ราวทำบันทึกไว้ ‘พอรู้’ เช่น อัมลัก เอกทษิ จะไม่บันทึกก็กลัว นายห้างมาสะกิด ..ทำไมไม่เขียน ..ก็บันทึกไว้ ให้รู้ว่า

อัมลัก เอกทษิ (AMALAKA EKAYASHI)

อัมลัก หรือ อัมลา (AMLA) คือ มะขามป้อม เป็นตัวยาสำคัญ แก้ท้องผูก ในตำรับยาทย คือ ตรีผล (ผล) มะขามป้อม

ฉนั้นเป็นสูตรยาสำคัญ ต้องบูชา

เอกทษิ คือวัน ขึ้น – แรม 11 ค่ำ แต่วันนี้จะทำในวันขึ้น 11 ค่ำ ของเดือน ผลคูณ

            พิธีก็อย่างเคย อาบน้ำ ถือศีลอด เอาต้นมะขามป้อมมาพรมน้ำมนตร์ สวดมนต์บูชาพระวิษณุเทพ (เขาบอกว่า ท่านประทับอยู่ใต้ต้นมะขามป้อม)

                                    จากนั้น อุทิศทาน แบบคนไทย ทำบุญ ทำทาน

                                    หากอินเดีย ต้องให้ พราหมณ์ผู้ทำพิธี (แบบถวายพระ)
วิม – ลา

0

article

วันโฮลีกะ เป็นอีกชื่อ ของวัน มักกร สันกรานติ ที่เล่าไปแล้ว แต่ว่าวัน โฮลีกะ  จัดขึ้นในวันเพ็ญของเดือน ผลคุณ คือ เดือนสี่  (กุมภาพันธ์ – มีนาคม) งานนี้จัด  2 วัน

ราตรีแรก จะมีการสุมไฟ ตอนเย็นหรือค่ำ (เหมือนวัยรุ่นเราจัดรอบกองไฟ) แต่ต้องมีการบวงสรวง ถวายน้ำ (อย่างเคยแหละ บูชาพระอัคนีเสียก่อน) แล้วถวายข้าวสาร ตรงนี้สงสัยเพราะตอนเป็นเด็ก เราใช้ข้าวเปลือกโยนเข้ากองไฟ พอแตกปะทุออกมาจะเป็นข้าวตอก แย่งกันตะครุบกิน ข้าวตอกใหม่ๆ จะหอม

แล้วก็ตีกลอง ร้องเพลง เต้นระบำ

ราตรีที่สอง จะไปเยี่ยมกัน ลืมข้อบาดหมางกัน หันหน้ามาเป็นมิตรกัน (น่าจัดงานนี้นะ)

แต่วันนี้จะสาดน้ำใส่สี ป้ายสี กันทั่วเมือง (ไม่ค่อยดีนะ) จากนั้นเลี้ยง ขนมหวานและอาหาร

เรื่องนี้มีนิทาน

กล่าวว่า มีอสูรชั่วร้ายตนหนึ่ง (ถ้าอสูร คือ อสุรา ไม่กินเหล้า จะชั่วร้ายยังไง แต่เอาเหอะ ถ้าเป็นอสูรต้องชั่วร้ายเสมอ)

อสูรตนนี้ทำสมาธิ ขอพรต่อพระพรหม

(พระพรหมจะให้เสมอ ไม่ว่าใครจะขออะไร เราจึงขอให้เจ้าโควิด หายไป)

อสูรตนนี้ ชื่อ หิรันยักสิป (คงตัวเขียนไว้ ให้รู้ว่า นายห้างเขียนตามใจจริงๆ)

พรที่ขอคือ ไม่ตายด้วยน้ำมือมนุษย์ สัตว์

ไม่ตายด้วยศาสตราอาวุธใดๆ (จรวด รถถัง เรือดำน้ำ ก็ทำอะไรไม่ได้)

ไม่ว่ายามสว่าง หรือมืด ข้างนอก ข้างใน

            แล้ว (เช่นเคย) พระพรหม ยกมือ อนุญาต

อสูรตนนี้จึงประกาศเป็น ‘กฎ’ ใครก็ตาม จะหน้าไหน ทั้ง มนุษย์ เทพ (ยกเว้นมหาเทพ) ต้องเคารพบูชา ใครไม่ทำ ตาย! ใครบ้างล่ะไม่กลัว กฎเหล็ก ก็ยอมๆ ไปงั้นๆ

    จนอสูรมี ลูกชาย ชื่อ ประหลาป (เขียนอย่างนี้ น่าจะชื่อประหลาด เพราะผิดพ่อ เป็นคนละสปีซี่เลย ใน สํ ถ้า ปรฺหลาทแปลว่า ยินดี คงยินดีตอนได้ลูกชาย) ลูกชายกลับไปศรัทธาวิษณุเทพ ท่อง แต่ ..โอม วิษณเว นมัช.. ไม่ท่อง โอม หิรัญกสิป…   ท่านอสูรโกรธมาก ลูกยังไม่ศรัทธา แล้วใครจะศรัทธา เลยสั่ง ฆ่า! จะตัดหัว ก็หนังเหนียว เอาช้างเหยียบ ช้างก็ไม่ทำ ท้ายสุดทำกุ้งย่างดีกว่า เผาเลย

(ตอนนี้แหละ พระแม่ โฮลีกะ มารองรีบไว้บนตัก)

โอม พระกุมารออกมาจากกองไฟ รอด! แต่ไม่เล่าต่อว่า จะโดนพี่ยักษ์ทำไง

แต่พระแม่ ตายในกองเพลิง (ก็อยู่บนตักไง)

เขาว่า ตาย ก็ตาย จึงเกิดวัน โฮลีกะ ป้ายสีกันเล่นไง

วิม-ลา

0

article

หลักการใหญ่ๆ มักจะประกอบพิธีในเทวาลัย หรือในสถานที่เตรียมการไว้เป็นพิเศษ การบูชาจะต้องเริ่มจากพระคเณศวร ซึ่งเป็น คณปติ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จและขจัดอุปสรรคทั้งปวง  ตามด้วยสวดบูชาพระแม่ สรัสวตี ซึ่งเป็นเทวีแห่งศาสตร์ทั้งปวง และต่อด้วยการบูชา คุรุ อาจารย์

จากนั้นประกอบการพิธีถวายน้ำ เรียก กาลัษ (KALASA)  ษ. ฤาษี

การบูชาเทพเจ้า ด้วยสิ่งของต่างๆ เรียก ทราวยะ (DRAVAYA)

พร้อมกันต้องทำจิตตนเองให้บริสุทธิ์ยิ่ง เรียกว่า การบูชา อาตมะ (ATAMA)

            (ถวายตัวเองต่อเทพเจ้า)

ขณะผู้เข้าร่วมพิธี ต้องตั้งใจ เฝ้ามองพิธี และถวายดอกไม้สด พวงมาลัย (ดอกไม้หอม)

            หลังจากนั้นจึงประกอบพิธี โศทัศ –อุปจาร (SODASA – UPACHARA) ด้วยพิธี 16 ขั้นตอน  คือเป็นพิธีใหญ่ มีบทสวดและการถวายของ ลีลามากมาย เป็นตำราของพราหมณ์อีก 1 เล่ม คงจะย่อๆ ให้อ่านพอรู้บ้าง เพราะคงไม่มีใครจะไปเป็นพราหมณ์ ถ้าจะอยากเป็นก็ไปเรียนกับพราหมณ์ แต่ท่านก็คงไม่สอน เพราะการเป็นพราหมณ์ จะต้องอยู่ในวรรณะพราหมณ์ (ตอนนี้ก็เหลือไม่กี่ท่าน)

น็น

 

 

            อ่านพอรู้นะ ‘เขาทำอะไร’ เท่านั้น

ในพิธีการย่อมมี อาคันตุกะ คือแขกรับเชิญ ตำราให้ถือว่า ‘แขกผู้มาเยือนดั่งเทพ’

            การเชิญต้องทำในรูปการสวดมนตร์ เรียก อาวาหะนัม (ACHAMNIUM)

เชิญแขกแล้ว ก็ต้องสวดถวายที่ประทับแห่งเทพ เรียก อาสนัม (ASNUM)

พอประทับแล้ว ก็ต้องถวายน้ำล้างพระบาท คือ บาทยัม  (PADYAM)

น้ำล้างพระหัตถ์ ASNUM เหมือนกัน

แล้วถวายน้ำเสวย อาจัมนิยม (ACHAMNIYAM)

            (สะอาดมาก กันโควิด)

ขั้นตอนนี้แปลกหน่อย ..ต้องสรงน้ำชำระองค์เทพ สนานัม (SNANUM.) ..ทำไมอาบน้ำทีหลัง

            ใช้ผ้าสะอาดเช็ดองค์เทพ วัสตรัม (VASTRAM)

ถวายเครื่องทรง ทาแป้ง กระแจะจันทร์ (CHANDA)

แต่งองค์ด้วยเครื่องประดับชิ้นใหม่ ถวายดอกไม้ พวงมาลัย บุษปะมาลา (PUSAPAMLA)

จุดธูป (DHOP) ประทีป (DIPA)

ถวายอาหารร้อนๆ ไนเวทยัม (NAIVADAYAM) คำนี้ สํ ว่าเครื่องบวงสรวง

            นี่แค่เริ่มต้นนะ ต่อไปถึงเข้าการบูชา 16 ขั้นตอน มีบทสวดทุกบท และพิธีถวายทั้ง 16 พิธี

                        จำแต่ว่า การน้อมถวาย แค่สวด ‘สมรปยามิ’ พอไหม (คำเดียวแหละ)

                                                            อยากรู้ 16 ขั้นตอนคงจะต้องค่อยๆเล่า (จะทำไหวเหรอ)

วิม-ลา.

0

article
กาลครั้งหนึ่ง (ครั้งไหนก็ช่าง เป็นการเปิดม่านนิทานทุกเรื่อง) มีนายพราน สุสวาร (บอกชื่อด้วย น่าจะจริง)
 
อยู่ในแคว้น พาราณสี มีอาชีพล่าสัตว์ จับสัตว์ขาย (ตอนนี้ห้ามขาย และ กินสัตว์ป่าแล้ว) วันหนึ่งเข้าไปในป่าจนพลบค่ำ (ในป่า พอตะวันคล้อยจะเริ่มมืด ต้องหาที่พักแรม) โดยเฉพาะคืนนั้นเป็นคืนข้างแรม ยิ่งมืดมาก การพักแรมต้องปืนขึ้นต้นไม้ใหญ่ (กันเสือได้มากกว่ากว่าหมี หมีปืนต้นไม้ได้ แต่เสือกินคน หมีแค่ตะปบเล่น เลือกเอาจะเจอตัวไหน)
 
นิทานเขาว่า ปืนขึ้นต้นไทร แต่ทางไทยว่าน่าจะต้นโพธิ์
เพราะใช้คำ ต้นสักตะ เผอิญโคนต้นมีศิวะลึงค์ ประดิษฐานอยู่
(ต้องมีคนเอาไปตั้งซิ แต่ไม่บอกชื่อ ไม่บอกว่า ทำไม แปลว่า มี ก็แล้วกัน)
 
สุสวาร ชื่อก็แปลว่า ผู้มีวาระเชื่อฟังดี แต่โชคไม่ดี กลัวก็กลัว หิวก็หิว (ข้าว,โรตี) กระหายก็กระหาย (น้ำ) แกก็กระสับกระส่าย และ (มือบอน) เด็ดใบไม้ลงมา คงทิ้งใบไม้น่ะ
 
เผอิญอีก เป็นวัน ศิวาราตรี แรม 14 ค่ำ
(แรม 14 ค่ำ ถือเป็นมืดที่สุดกว่า แรม 15 ค่ำ พระจันทร์ปริ่มจะขึ้น)
(เหมือนวัน Full moon จริงๆ คือแรม 1 ค่ำ)
 
ท่าน สุสวาร จึงทำพิธี ศิวาราตรี โดยไม่ตั้งใจ ไม่รู้ด้วยซ้ำ
มหาเทพจึงโปรดมาก (เล่าแค่โปรด)
แต่ตอบแก มรณัง แกได้ไปอยู่กับพระผู้เป็นเจ้า
แน่นอน .. ดับสนิท ต้องพ้นบาปพ้นกรรมหมด
ได้มาเกิดใหม่ ‘เขา’ ได้เป็นพระราชา นาม ไชตรภาณุ
 
นี่เองจึงควรกระทำพิธีให้ มหิมา จะได้พ้นบาป พ้นกรรม ไปเป็นใหญ่ เป็นโต (อย่าเป็นช้างละกัน)
ทำซะนะ ปีนี้ไม่ทันไม่เป็นไร ปีหน้าอย่าลืม
 
วิม-ลา
————————————-
มีวันย่อยๆ อีกวัน คือ ศิวะ จาตุรทษิ
วัน จาตุรทษิ คือ แรม 14 ค่ำ ของเดือน
ถือกันว่า วันแรม 14 ค่ำ พระจันทร์ จะมืดที่สุด
(ไม่ใช่ แรม 15 ค่ำ ที่พระจันทร์ปริ่มๆ จะเป็นข้างขึ้น)
ทุกวันพระ 14 ค่ำ พระศิวะ จะปรากฏพระองค์
(วันใหญ่ คือ ศิวาราตรี)
เพราะฉะนั้น ทุกวันแรม 14 ค่ำ จะบูชา มหาศิวะได้
 
0

article
 
ในตอนนี้จะรู้กันละว่า ในช่วงนี้ทำไมถือกันว่า เป็น Horrible เพราะจะเล่าถึง
มหาศิวาราตรี (MAHASHIVA RATRI)
 
สำหรับประวัติของวันนี้เคยเล่ามาแล้ว ถ้าใครบอกว่า..ไม่เค้ย ไม่เคย..ก็รออ่าน กำเนิดเทพ เพราะเล่าถึงมหาเทวะ พระองค์เดียว ก็ไม่ต้องเล่าเรื่องอื่นๆ เล่าย่นย่อก็ไม่ได้ บาป หนา เมื่อเล่าถึงเทศกาล ก็จะบอกแค่ พิธีกรรมให้รู้เท่านั้น
 
งานวันมหาศิวาราตรี เป็นทั้งการถือพรตและพิธีกรรม (ยิ่งใหญ่ของผู้นับถือ ไศวนิกาย,ไศ-วะ บางทีเรียก ฮรยัน เพราะพระศิวะ คือ หร ออกเสียง ฮร ถ้าพระนารายณ์หรือพระวิษณุ คือ หริ ออกเสียง ฮริ)
 
วันนี้ตรงกับวันแรม 14 ค่ำ ของเดือน ผลคุณ (ผะละคุณ)
คือเดือนสี่ ระหว่าง กุมภา – มีนาคม
 
ในปี 2563 ตรงกับวันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์
(ผ่านมาแล้ว เทวาลัย ทำพิธีแล้ว แต่คุณโค กำลังจะมาขวิด ทำอะไรมากไม่ได้ คุณโค คงไม่ใช่ ท่าน นันทิ ของพระผู้เป็นเจ้า เป็น พวกนอกระบบ)
 
วันนี้พราหมณ์ ทุกวรรณะ ต้องประกอบพิธี
(ข้อกำหนดนี้ ทำให้สงสัยว่า จะมีวันใด วรรณะใด ไม่ต้องทำ
และในวรรณะพราหมณ์ ยังแยกอีกเป็นชั้น คงจะไว้ตอนสรุป)
 
พิธีกรรมนี้ต้องอัญเชิญ มหาเทพ และศิวะลึงค์ ออกมาสรงน้ำ น้ำที่ใช้สรงเรียกคงคายัล (คำว่า ยัล ตำราเขียนอย่างนั้น จะเป็น ยัญ หรือเปล่า เพราะคนเขียน เขียนตามที่พูด ภาษาไทยไม่สันทัด)
 
การสรงน้ำ ขั้นแรก ขี้เถ้า (จะให้ขลังต้องเถ้าจากเชิงตะกอน ไปแอบขอซื้อจากสัปเหร่อตามวัดคงกวาดๆ มาได้ แต่..กล้าไหมล่ะ?) เราใช้เถ้าจากเครื่องหอมที่จุดถวายรวมไว้ ต่อไปคือ น้ำผึ้ง น้ำมันเนยแท้ นมเปรี้ยว นมสด น้ำลอยดอกไม้ และน้ำอบไทย จากนั้นจึงใช้ผ้าสะอาดเช็ดพระองค์ให้แห้ง
 
ที่ใช้ ขี้เถ้า เพราะมหาเทพจะประทับ ณ ที่เผาศพ คงจะใช้เป็นกรรมฐาน โดยเฉพาะพราหมณ์ที่อินเดียบอกว่าขี้เถ้ารักษาผิวหนัง และบรรเทา ร้อน – หนาว ได้
 
น้ำผึ้ง มาจากเกสรดอกไม้ มีสรรพคุณรักษาผิว แผลไฟลวก น้ำร้อนลวก แผลสด ใช้น้ำผึ้งทาจะหายเร็ว และจะ เนย นม ล้วนมีประโยชน์ต่อผิว
 
สำหรับ น้ำลอยดอกไม้ ต้องมีใบมะตูมด้วย เพราะเป็นใบให้ศักดิ์สิทธิ์ (ใบมะตูมมีสามแฉก รูปร่างเหมือน ตรีศูล ที่เทวาลัย มีต้นหนึ่ง แต่ดูเท่าไหร่ก็ไม่เหมือนตรีศูล แต่ว่าใช่ ก็ใช่ต้น หากไม่มีใบมะตูม ใช้ใบพลูได้ แต่ต้องเป็น ‘พลูร่วมใจ’ คือพลูใบบาง อ่อน สีนวลๆ ออกเหลือง เรียกพลูจีน และต้องคัดเลือกใบรูปร่างลายหัวใจ เอาไปเขียนยันตร์ทำเสน่ห์ได้)
 
วันพิเศษยิ่งใหญ่วันนี้ (ตามเคย) ถือศีลตลอด ใช้เวลาทั้งคืนทำสมาธิ สวดมนตร์ ร้องเพลงสรรเสริญ (ภชัน แปลว่า สรรเสริญ บูชา) และจะมีพราหมณ์เล่าถึงความยิ่งใหญ่ของมหาเทพตลอดคืน
 
ที่เคยเห็น เล่าเป็นตอนๆ สลับ สวดมนตร์ ร้องเพลง ตีกลอง ดนตรี (สนุกดี)
เครื่องสังเวย มีแต่ขนมหวาน ไม่มีเครื่องคาวเลย
 
ดอกไม้มากมาย ธูป กำยาน ประทีป ควันคลุ้ง สว่างไสวพร้อมถวาย อารตี
ที่จริงทาง สํ ออกเสียง อาราตฺธิก แปลว่า การแกว่งประทีปต่อหน้ารูปเคารพ ยามค่ำ
 
ถ้า อาราติ แปลว่า ศัตรู (enemy)
ถ้า อารติ แปลว่า การหยุด (Stopping)
 
แต่คนไทยไม่ได้ขมวดลิ้นเป็น อาราตฺริก เอาตัว ก. เข้าไปด้วย เหลือแต่ อาราตี (ก็ยังดีน่า) เครื่องกระทำอารตี มีมากแถวพาหุรัด เท่ากับในอินเดีย แต่ที่ริมแม่น้ำคงคาในพาราณสี ท่อง มหิมา ผสมกับบทสวด
 
ศิวะ มหิมา (SHIVA MAHIMA)
(เราออกเสียงกัน ศิวะ แขกจะออกเสียง ฉิ หรือ ชี – วา )
ศิวะ ตัน ดาวะ สโตตระ (SHIVA TAHDAVA STOTRA)
(สำหรับ บทสวด โศลก อัถ วันทนา ยกไปรวมกันดีกว่า)
 
และเครื่องสังเวย เคยเห็นแต่ของหวาน ผลไม้ ไม่เคยมี ‘ชุดใหญ่’ หัวหมู ยำ ต้น ขนมหม้อแกงอย่างไทย สันนิษฐานว่า ไทยเราคงผสมผเสกับเครื่องบำบวง ‘เจ้าพ่อ’ ต่างๆ
 
เพราะทาง ไสยะ ของไทย จะมีเจ้าพ่อ เจ้าแม่ ผีบ้าน ผีป่า กินเครื่องยำ สุรา
ถ้าเป็นพรานจะตั้ง ‘ศาลเพียงตา’ ถวายหัวสัตว์ที่จะล่าได้ โดยเฉพาะหัวหมู ที่จริงเขาว่า พรานบน จะแบ่งสัตว์ถวาย 1 ตัว แต่เกิดรายการเม้มเจ้าป่า คือ ถวายหัว – หาง ขา 4 ขา กับหาง วางคว่ำ ขากาง หางโผล่ เนื้อๆกลางตัว เอากลับบ้านหมด ข้อสำคัญแขกไม่กินหมู ไม่กินยำ เอาน่า แถมๆ กันไป

บ้านเราตั้งใจว่า จะถวายพิซซ่า ราเมน สเต๊ก ครบสิบสองภาษา
น่าจะได้น่า แปลว่า ทุกชาติถวายอาหารอร่อยๆ ให้ท่าน
 
คนที่เคารพบูชานับแสน จะไปชุมนุม ณ โบสถ์มหาศิวะ (เทวาลัย = เทวะ + อาลย ,ที่พัก ที่อยู่)
 
แต่โบสถ์ คือที่ประดิษฐานรูปเคารพ แต่ละพระองค์จะมีโบสถ์ ทางฝรั่งเรียก chapel คือ ห้องสวดเฉพาะ
 
เมืองที่ดันไปชุมนุมกันมาก คือที่ พาราณสี การเกศวร ไภทนาค ราเมศวัม เป็นสถานที่สำคัญของพระศิวะ แต่ที่ ปศุปตินาต ในเนปาล สมัยก่อนมีการบูชายัญ วัว – ควาย แพะ – แกะ อย่างละ 108 ตัว แล้วควักไส้ออกมาพันรอบตัว เราต้องเผ่นหนีไปอินเดียเพราะไม่มีการบูชายัญ และบัดนี้ทางการเนปาลก็ทานแล้ว เหลือแต่การฆ่าเจ้าแพะรับบาปถวายเจ้าแม่กาลี ทางอินเดีย ตอนนี้ก็น้อยลง เพราะแพะ ราคาแพง
 
การถือศีลอดทั้งคืน คราวนี้ แม้แต่น้ำก็ห้ามดื่ม
(เราเป็นพราหมณ์ลูกครึ่ง พวกชูชกจึงทำไม่ได้)
ในวันนั้นต้องสวดทุกพระนาม ก็ราวๆ 240 พระนาม เท่านั้นเอง
 
พระจันทรเศขร ผู้มีปิ่นปักพระจันทร์เสี้ยว
พระคงคาธร ผู้ทรงพระคงคาไว้ (บนมุ่นเกศา)
พระปศุปติ ผู้ทรงเป็นเทพเจ้าแห่งวิญญาณ (ประทับในป่าช้า)
 
อย่าเขียนครบ 240 พระนามเลย แค่เขียนยังแย่ แต่พราหมณ์เขาท่องได้ คนไทยแค่ พระพุทธเจ้าห้าพระองค์ยังจำไม่ค่อยจะครบ
 
มีนิทานตามมา เล่าตอนต่อไปนะ แค่นี้ก็ยาวพอแล้ว
 
วิม-ลา
 
0

article
เทศกาลเทพในอินเดีย
ราวีทัส ชัยนติ (RAVIDASYAYANTI)
.
ท่านเป็นคุรุที่มีชื่อเสียง หากท่านมิได้กำเนิดเป็นพราหมณ์ ตำราบอกว่าถือกำหนดจากวรรณะต่ำสุด ซึ่งก็น่าจะเป็น ศูทร โดยปกติวรรณะนี้ไม่เคยได้รับการยกย่อง แต่อินเดียเคยมีประธานาธิบดีระดับด็อกเตอร์ ในวรรณะศูทร แสดงว่าระยะหลังๆ อินเดียยอมรับระบบการศึกษามากขึ้น
.
ที่น่าประทับใจคือ เราจะเห็นภาพครูตามโรงเรียน
นำลูกศิษย์มาสอนภายใต้ร่มไม้ แบบเดียวกับฤษีเคยใช้ในสมัยโบราณ
อาจจะเพราะอินเดียยังมีต้นไม้ใหม่มาก
ใต้ร่มไม้อากาศโปร่ง และได้ออกซิเจนเย่น
(ขณะนี้โรงเรียน และวัดไทย ตัดต้นไม้ เทคอนกรีตหมด ทำให้ร้อน คงจะต้องบังคับกระมัง ให้โรงเรียน และวัด ทำลานดอกพิกุลแบบเก่า)
.
คำว่า ราวี หรือ ราวิ เป็น รวิวาร (RAVIVAR) คือ วันอาทิตย์
คำว่า ทส ใน สํ มี ทรรศน ที่ไทยใช้ ทัศน คือ เห็น ดู
คำว่า ชัยนติ ใน สํ คือ ชยนฺต แปลว่า วันดาวโรหิณี ขึ้นเวลาเที่ยงคืน
ดาวโรหิณี เป็นดาวนักกษัตร หมู่ที่สี่ มีห้าดาว , เป็นชายาองค์ที่พระจันทร์รักที่สุด
.
ในตำราบอกแต่ชื่อ กับคุณสมบัติ ว่าท่านเป็นฤษีแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้ ฉลาดรอบรู้ในวิทยาการต่างๆ ท่านจะทำสมาธิ สวดมนตร์ สรรเสริญเทพเจ้าอยู่ริมแม่น้ำคงคา
.
อาชีพของท่านยามว่างดี เป็นช่างรองเท้า
แต่ไม่บอก วัน – เวลา ที่บูชา
จึงสรุปได้ว่า วันอาทิตย์ใดที่ดาวโรหิณีขึ้นเวลาเที่ยงคืน
ก็วันนั้นแหละ บูชาท่าน
.
กับมีอีกข้อ คือ
ชยนฺติ เป็นวันแรม 8 ค่ำ ของเดือน ศรวัณ
แต่เดือน ศรวัณ คือกรกฎา – สิงหา ก็เป็นวันของพระกฤษณะ
.
จึงสรุปอีกครั้ง วันอาทิตย์ ที่ดาวโรหิณี ขึ้นเที่ยงคืน
ถ้าดูดาวไม่เป็น วันอาทิตย์ มฆะ ก็บูชาท่านไปเหอะ แต่ต้องบูชาพระวิษณุเทพด้วยเพราะ ฤษี คาวีทรัสท่านเป็นชาว อารยัน คือพวกบูชาพระนารายณ์
ถ้าบูชาแล้วจะเรียนหนังสือเก่ง
.
เข้ามหาวิทยาลัยได้ แต่จะเป็นช่างทำรองเท้าไหม
เลือกเอานะโยม
.
วิม-ลา.
0

article

วันเพ็ญเดือนมาฆะ (MAGHA)

ความจริงทางอินเดียมีเทศกาลวันเพ็ญเดือนมาฆะเหมือนกัน คือ ปีณิมา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ มีความสำคัญทางภาพ เพราะเป็นแบบเดียวกัน การติก ปีริณมา

การฺตฺติก เป็นเดือนที่ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้หมู่ดาวกฤตติกา

การฺติเกย(ะ) เทพ คือ พระขันทกุมาร หรือ สุกันทะ โอรสพระศิวะเทพ

ดาวกฤติกา คือดาวลูกไก่ มี 12 องค์ รับเลี้ยงพระการติเกยะจากวัยทารก ท่านเป็นเจ้าแห่งสงคราม เหมือนเทพมาร

พิธีกรรมอย่างที่เล่ามาแล้ว อาบน้ำชำระล้างบ้าน ถือศีลอด ให้ทาน เพิ่มด้วยการถวายบูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ให้พ้นบาป ไปสู่สวรรค์

ที่สำคัญ ต้องบริจาคต่อพราหมณ์ และเลี้ยงดู

เพราะพราหมณ์จะทำพิธีบูชา ขอให้บรรพบุรุษพ้นบาปได้ ในวันนี้

และวันเพ็ญเดือนมาฆะ ในเมือง มทุไร (MADURAI) มีพิธี

ลอยบูชาในน้ำ  (Floor Festival)

เมือง มทุไร มีโบสถ์ พระแม่ มินากษี (Minakshi) คำ มินา หรือ มีนา. แปลว่า ปลา ฉะนั้นนามนี้ จึงแปลว่า พระแม่ผู้มีเนตรงามดั่งมัจฉา แม่นาคกัลญานี  (จะไม่สาวเรื่องว่า เกี่ยวข้องกับนาคอย่างไร แต่ตำราเขาว่า

พระแม่ มินากษี คือ พระนามพระแม่ปารวตีด้วย

และวันนี้จะต้องบูชาพระแม่ กับ พระสุนทเรศวร (อีกพระนามพระศิวะ) จากนั้นลอยเทวรูปทั้งสองไปในกระแสน้ำ ดีที่สุดคือลอยไปทางทิศตะวันออก)

            จะลอยทำไม เรื่องอะไร ขืนเล่าตอนนี้ คงไม่จบแต่ละเทศกาลง่ายๆ จะรวบรวมเฉพาะ เทพ ที่ทางไทยไม่ค่อยได้ยิน มาเขียน อย่างพระอุมา พระปารวตี พระคเณศ พระศิวะ มีตำราอยู่มากแล้ว

                                    ฉะนั้นรวมความว่า วันเพ็ญ เดือน มาฆะ ทางเทพมีพิธีการ

บูชาพระ การติเกยะ กับ พระแม่ มินากษี

แต่อ่านตำรานายห้างแล้ว ไม่เข้าใจ

ทำไมมหาศิวะ ถูกลอยแพไปด้วย คงเหมือนทางไทย ลอยกระทง

กับเคยเห็น คุณยาย ลอยกระทงเดือน 3 ไม่ใช่แค่วันเพ็ญเดือนสิบสอง

คุณยายบอกว่า เพ็ญมาฆะ ลอยถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

แต่เพ็ญเดือน 12 ขอขมาต่อ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุสำคัญของโลก และตัวเรา

เทศกาลเดือน 12 ยังอยู่ แต่เทศกาลเดือนมาฆะ ไม่เห็นทำกันแล้ว

วิม-ลา

0