article

เทศกาลเทพของอินเดีย มกร สังกรานติ (MAKAR SANKRANI)

มกร สังกรานติ (MAKAR SANKRANI)
คำว่า มกร คือ มังกร คำว่า สังกรานติ อธิบายแล้ว

วันมกร สังกรานติ เป็นวันที่ กำหนดวันเลย ไม่ต้องใช้ ขึ้น – แรม คือวันที่ 14 มกราคม ของทุกปี คือ … เป็นวันเริ่มต้นแห่งพระอาทิตย์เดินทางไปทิศเหนือ เป็นวันมงคลยิ่งใหญ่ของอินเดียเหนือเท่าๆ กับวัน ปุณคล ของทางภาคใต้ และวันนี้ยังมีอีกชื่อ คือ

 

อุตตรยัน สังกรานติ

อุตตร คือ อุดร ทิศเหนือ

อุตตรยัณ คือ คราวที่ดวงอาทิตย์เดินเหนือเส้นศูนย์สูตร

 

ในตอนนี้จะรวมคำ ที่เดียวกับฤดูเสียเลย คือ

เห-มายัณ เวลาที่พระอาทิตย์ โคจรไปทางขั้วโลกใต้ จุดไกลที่สุดจากเส้นศูนย์สูตร

ราววันที่ 22 ธันวาคม มีกลางคืนนานกว่ากลางวัน (Winter Solstice)

ศรีษมายัน (สํ ใช้ตัว ณ) วันที่ดวงอาทิตย์ อยู่สูงสุดในทิศเหนือ ไกลสุดจากเส้น

ศูนย์สูตร ราววันที่ 21 – 22 มิถุนายน กลางวันจะนานกว่ากลางคืน

 (ศรีษมะ = คินทะ , เห-มา คือ เหมันตะ ) มายน = เดิน เคลื่อนที่

 

วิษุวัต คือวันที่มีกลางวันกับกลางคืนเท่ากันพอดี Equinox มี

            ศราท วิษุวัต เกิดในฤดู ศรทะ (ใบไม้ร่วง) คือเทศกาลทำบุญเดือนสิบ ราววันที่ 22-23 กันยายน

            วสันต วิษุวัต กลางวันกับกลางคืนในฤดูฝน ราววันที่ 21 มีนาคม

 

วันนี้คล้ายกับวันปีใหม่ (แต่เดือนมกราคมคือเดือนยี่) ตามเคยต้องชำระล้างร่างกายในแม่น้ำศักดิ์สิทธ์ โดยเฉพาะแม่น้ำคงคา โดยเฉพาะบริเวณ คงคา สคร (GANGA SAGAR)

คำว่า GANGA คือ แม่น้ำคงคาแหละ แต่ภาษาอังกฤษเขียนอย่างนั้น

สคร หรือ สาคร คือชื่อพระราชาอโยธยา (อยุธยาของไทยนำชื่อมาจากอโยธยา ภายหลังเหลือ อยุธยา) เมืองของท้าว สาคร ที่มีโอรส 6 หมื่นองค์ไปมีเรื่องกับ กปิล (กะปิละฤาษี) จนถูกเผาเป็นเถ้าถ่านหมด อย่าสงสัย มีลูก 6 หมื่นองค์ ตำราละเอียดจะเขียนตอบ ตำนานเทพ

ต่อมาได้ถูกช่วยให้ขึ้นสวรรค์ ด้วยการอัญเชิญ พระแม่คงคาลงมาพรมน้ำมนตร์ ดังนั้นจุดของที่ตั้งเมือง อโยธยา ตรงแม่น้ำคงคาไหลสู่มหาสมุทรอินเดีย จึงศักดิ์สิทธิ์ ถ้าไปอาบน้ำตรงนั้นจะได้ขึ้นสวรรค์

นอกจากนั้นต้องเตรียมเครื่องสังเวยถวายพระอาทิตย์ อุทิศทานคนจน ผู้ยากไร้

            แต่ในแคว้นปัญจาป เรียกว่า วันโลฮรี (Lohli)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

            วันโลฮรี (Lohli)

            แคว้นปัญจาปอยู่ทางภาคเหนือ ขณะสตรีอินเดียห่มสาหรี คนแคว้นนี้ผู้หญิงจะนุ่งกางเกงรัดข้อเท้า ใส่เสื้อตัวยาวถึงข้อเท้า ผ่าข้าง มีผ้าฟาดไหล่ (เราชอบชุดของปัญจาป)

            ทางปัญจาญถือว่า วันนี้เป็นการบอกถึงการสิ้นสุดฤดูหนาว จะย่างเข้าฤดูร้อน จึงมีการจุดกองไฟ (อย่าทำในบ้านล่ะ) แล้วก็ร้องเพลง เต้นระบำแขก ตีกลอง โยนขนมลงกองไฟให้พระอาทิตย์

อาหารสำคัญที่ถวายต่อเทพเจ้า และพระสุริยาทิตย์ คือ ข้าวโพดต้ม (คงต้องแกะก่อน) เอามาปรุงด้วย เกลือ มะนาว พริกป่น (ถ้าเป็นข้าวโพดเนย คงจะดีกว่า แต่เขาคงรู้กันว่า เทพท่านโปรดอย่างนั้น)

วิม-ลา.