Your address will show here +12 34 56 78
article
เทศกาลเทพในอินเดีย
ราวีทัส ชัยนติ (RAVIDASYAYANTI)
.
ท่านเป็นคุรุที่มีชื่อเสียง หากท่านมิได้กำเนิดเป็นพราหมณ์ ตำราบอกว่าถือกำหนดจากวรรณะต่ำสุด ซึ่งก็น่าจะเป็น ศูทร โดยปกติวรรณะนี้ไม่เคยได้รับการยกย่อง แต่อินเดียเคยมีประธานาธิบดีระดับด็อกเตอร์ ในวรรณะศูทร แสดงว่าระยะหลังๆ อินเดียยอมรับระบบการศึกษามากขึ้น
.
ที่น่าประทับใจคือ เราจะเห็นภาพครูตามโรงเรียน
นำลูกศิษย์มาสอนภายใต้ร่มไม้ แบบเดียวกับฤษีเคยใช้ในสมัยโบราณ
อาจจะเพราะอินเดียยังมีต้นไม้ใหม่มาก
ใต้ร่มไม้อากาศโปร่ง และได้ออกซิเจนเย่น
(ขณะนี้โรงเรียน และวัดไทย ตัดต้นไม้ เทคอนกรีตหมด ทำให้ร้อน คงจะต้องบังคับกระมัง ให้โรงเรียน และวัด ทำลานดอกพิกุลแบบเก่า)
.
คำว่า ราวี หรือ ราวิ เป็น รวิวาร (RAVIVAR) คือ วันอาทิตย์
คำว่า ทส ใน สํ มี ทรรศน ที่ไทยใช้ ทัศน คือ เห็น ดู
คำว่า ชัยนติ ใน สํ คือ ชยนฺต แปลว่า วันดาวโรหิณี ขึ้นเวลาเที่ยงคืน
ดาวโรหิณี เป็นดาวนักกษัตร หมู่ที่สี่ มีห้าดาว , เป็นชายาองค์ที่พระจันทร์รักที่สุด
.
ในตำราบอกแต่ชื่อ กับคุณสมบัติ ว่าท่านเป็นฤษีแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ได้ ฉลาดรอบรู้ในวิทยาการต่างๆ ท่านจะทำสมาธิ สวดมนตร์ สรรเสริญเทพเจ้าอยู่ริมแม่น้ำคงคา
.
อาชีพของท่านยามว่างดี เป็นช่างรองเท้า
แต่ไม่บอก วัน – เวลา ที่บูชา
จึงสรุปได้ว่า วันอาทิตย์ใดที่ดาวโรหิณีขึ้นเวลาเที่ยงคืน
ก็วันนั้นแหละ บูชาท่าน
.
กับมีอีกข้อ คือ
ชยนฺติ เป็นวันแรม 8 ค่ำ ของเดือน ศรวัณ
แต่เดือน ศรวัณ คือกรกฎา – สิงหา ก็เป็นวันของพระกฤษณะ
.
จึงสรุปอีกครั้ง วันอาทิตย์ ที่ดาวโรหิณี ขึ้นเที่ยงคืน
ถ้าดูดาวไม่เป็น วันอาทิตย์ มฆะ ก็บูชาท่านไปเหอะ แต่ต้องบูชาพระวิษณุเทพด้วยเพราะ ฤษี คาวีทรัสท่านเป็นชาว อารยัน คือพวกบูชาพระนารายณ์
ถ้าบูชาแล้วจะเรียนหนังสือเก่ง
.
เข้ามหาวิทยาลัยได้ แต่จะเป็นช่างทำรองเท้าไหม
เลือกเอานะโยม
.
วิม-ลา.
0

article

วันเพ็ญเดือนมาฆะ (MAGHA)

ความจริงทางอินเดียมีเทศกาลวันเพ็ญเดือนมาฆะเหมือนกัน คือ ปีณิมา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ มีความสำคัญทางภาพ เพราะเป็นแบบเดียวกัน การติก ปีริณมา

การฺตฺติก เป็นเดือนที่ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้หมู่ดาวกฤตติกา

การฺติเกย(ะ) เทพ คือ พระขันทกุมาร หรือ สุกันทะ โอรสพระศิวะเทพ

ดาวกฤติกา คือดาวลูกไก่ มี 12 องค์ รับเลี้ยงพระการติเกยะจากวัยทารก ท่านเป็นเจ้าแห่งสงคราม เหมือนเทพมาร

พิธีกรรมอย่างที่เล่ามาแล้ว อาบน้ำชำระล้างบ้าน ถือศีลอด ให้ทาน เพิ่มด้วยการถวายบูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ให้พ้นบาป ไปสู่สวรรค์

ที่สำคัญ ต้องบริจาคต่อพราหมณ์ และเลี้ยงดู

เพราะพราหมณ์จะทำพิธีบูชา ขอให้บรรพบุรุษพ้นบาปได้ ในวันนี้

และวันเพ็ญเดือนมาฆะ ในเมือง มทุไร (MADURAI) มีพิธี

ลอยบูชาในน้ำ  (Floor Festival)

เมือง มทุไร มีโบสถ์ พระแม่ มินากษี (Minakshi) คำ มินา หรือ มีนา. แปลว่า ปลา ฉะนั้นนามนี้ จึงแปลว่า พระแม่ผู้มีเนตรงามดั่งมัจฉา แม่นาคกัลญานี  (จะไม่สาวเรื่องว่า เกี่ยวข้องกับนาคอย่างไร แต่ตำราเขาว่า

พระแม่ มินากษี คือ พระนามพระแม่ปารวตีด้วย

และวันนี้จะต้องบูชาพระแม่ กับ พระสุนทเรศวร (อีกพระนามพระศิวะ) จากนั้นลอยเทวรูปทั้งสองไปในกระแสน้ำ ดีที่สุดคือลอยไปทางทิศตะวันออก)

            จะลอยทำไม เรื่องอะไร ขืนเล่าตอนนี้ คงไม่จบแต่ละเทศกาลง่ายๆ จะรวบรวมเฉพาะ เทพ ที่ทางไทยไม่ค่อยได้ยิน มาเขียน อย่างพระอุมา พระปารวตี พระคเณศ พระศิวะ มีตำราอยู่มากแล้ว

                                    ฉะนั้นรวมความว่า วันเพ็ญ เดือน มาฆะ ทางเทพมีพิธีการ

บูชาพระ การติเกยะ กับ พระแม่ มินากษี

แต่อ่านตำรานายห้างแล้ว ไม่เข้าใจ

ทำไมมหาศิวะ ถูกลอยแพไปด้วย คงเหมือนทางไทย ลอยกระทง

กับเคยเห็น คุณยาย ลอยกระทงเดือน 3 ไม่ใช่แค่วันเพ็ญเดือนสิบสอง

คุณยายบอกว่า เพ็ญมาฆะ ลอยถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

แต่เพ็ญเดือน 12 ขอขมาต่อ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุสำคัญของโลก และตัวเรา

เทศกาลเดือน 12 ยังอยู่ แต่เทศกาลเดือนมาฆะ ไม่เห็นทำกันแล้ว

วิม-ลา

0

article

มกร สังกรานติ (MAKAR SANKRANI)
คำว่า มกร คือ มังกร คำว่า สังกรานติ อธิบายแล้ว

วันมกร สังกรานติ เป็นวันที่ กำหนดวันเลย ไม่ต้องใช้ ขึ้น – แรม คือวันที่ 14 มกราคม ของทุกปี คือ … เป็นวันเริ่มต้นแห่งพระอาทิตย์เดินทางไปทิศเหนือ เป็นวันมงคลยิ่งใหญ่ของอินเดียเหนือเท่าๆ กับวัน ปุณคล ของทางภาคใต้ และวันนี้ยังมีอีกชื่อ คือ

 

อุตตรยัน สังกรานติ

อุตตร คือ อุดร ทิศเหนือ

อุตตรยัณ คือ คราวที่ดวงอาทิตย์เดินเหนือเส้นศูนย์สูตร

 

ในตอนนี้จะรวมคำ ที่เดียวกับฤดูเสียเลย คือ

เห-มายัณ เวลาที่พระอาทิตย์ โคจรไปทางขั้วโลกใต้ จุดไกลที่สุดจากเส้นศูนย์สูตร

ราววันที่ 22 ธันวาคม มีกลางคืนนานกว่ากลางวัน (Winter Solstice)

ศรีษมายัน (สํ ใช้ตัว ณ) วันที่ดวงอาทิตย์ อยู่สูงสุดในทิศเหนือ ไกลสุดจากเส้น

ศูนย์สูตร ราววันที่ 21 – 22 มิถุนายน กลางวันจะนานกว่ากลางคืน

 (ศรีษมะ = คินทะ , เห-มา คือ เหมันตะ ) มายน = เดิน เคลื่อนที่

 

วิษุวัต คือวันที่มีกลางวันกับกลางคืนเท่ากันพอดี Equinox มี

            ศราท วิษุวัต เกิดในฤดู ศรทะ (ใบไม้ร่วง) คือเทศกาลทำบุญเดือนสิบ ราววันที่ 22-23 กันยายน

            วสันต วิษุวัต กลางวันกับกลางคืนในฤดูฝน ราววันที่ 21 มีนาคม

 

วันนี้คล้ายกับวันปีใหม่ (แต่เดือนมกราคมคือเดือนยี่) ตามเคยต้องชำระล้างร่างกายในแม่น้ำศักดิ์สิทธ์ โดยเฉพาะแม่น้ำคงคา โดยเฉพาะบริเวณ คงคา สคร (GANGA SAGAR)

คำว่า GANGA คือ แม่น้ำคงคาแหละ แต่ภาษาอังกฤษเขียนอย่างนั้น

สคร หรือ สาคร คือชื่อพระราชาอโยธยา (อยุธยาของไทยนำชื่อมาจากอโยธยา ภายหลังเหลือ อยุธยา) เมืองของท้าว สาคร ที่มีโอรส 6 หมื่นองค์ไปมีเรื่องกับ กปิล (กะปิละฤาษี) จนถูกเผาเป็นเถ้าถ่านหมด อย่าสงสัย มีลูก 6 หมื่นองค์ ตำราละเอียดจะเขียนตอบ ตำนานเทพ

ต่อมาได้ถูกช่วยให้ขึ้นสวรรค์ ด้วยการอัญเชิญ พระแม่คงคาลงมาพรมน้ำมนตร์ ดังนั้นจุดของที่ตั้งเมือง อโยธยา ตรงแม่น้ำคงคาไหลสู่มหาสมุทรอินเดีย จึงศักดิ์สิทธิ์ ถ้าไปอาบน้ำตรงนั้นจะได้ขึ้นสวรรค์

นอกจากนั้นต้องเตรียมเครื่องสังเวยถวายพระอาทิตย์ อุทิศทานคนจน ผู้ยากไร้

            แต่ในแคว้นปัญจาป เรียกว่า วันโลฮรี (Lohli)

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

            วันโลฮรี (Lohli)

            แคว้นปัญจาปอยู่ทางภาคเหนือ ขณะสตรีอินเดียห่มสาหรี คนแคว้นนี้ผู้หญิงจะนุ่งกางเกงรัดข้อเท้า ใส่เสื้อตัวยาวถึงข้อเท้า ผ่าข้าง มีผ้าฟาดไหล่ (เราชอบชุดของปัญจาป)

            ทางปัญจาญถือว่า วันนี้เป็นการบอกถึงการสิ้นสุดฤดูหนาว จะย่างเข้าฤดูร้อน จึงมีการจุดกองไฟ (อย่าทำในบ้านล่ะ) แล้วก็ร้องเพลง เต้นระบำแขก ตีกลอง โยนขนมลงกองไฟให้พระอาทิตย์

อาหารสำคัญที่ถวายต่อเทพเจ้า และพระสุริยาทิตย์ คือ ข้าวโพดต้ม (คงต้องแกะก่อน) เอามาปรุงด้วย เกลือ มะนาว พริกป่น (ถ้าเป็นข้าวโพดเนย คงจะดีกว่า แต่เขาคงรู้กันว่า เทพท่านโปรดอย่างนั้น)

วิม-ลา.

0