article

มฆี ปูรินมา (MASHI PURNIMA) วันเพ็ญเดือนมาฆะ (MAGHA)

วันเพ็ญเดือนมาฆะ (MAGHA)

ความจริงทางอินเดียมีเทศกาลวันเพ็ญเดือนมาฆะเหมือนกัน คือ ปีณิมา เป็นวันขึ้น 15 ค่ำ มีความสำคัญทางภาพ เพราะเป็นแบบเดียวกัน การติก ปีริณมา

การฺตฺติก เป็นเดือนที่ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้หมู่ดาวกฤตติกา

การฺติเกย(ะ) เทพ คือ พระขันทกุมาร หรือ สุกันทะ โอรสพระศิวะเทพ

ดาวกฤติกา คือดาวลูกไก่ มี 12 องค์ รับเลี้ยงพระการติเกยะจากวัยทารก ท่านเป็นเจ้าแห่งสงคราม เหมือนเทพมาร

พิธีกรรมอย่างที่เล่ามาแล้ว อาบน้ำชำระล้างบ้าน ถือศีลอด ให้ทาน เพิ่มด้วยการถวายบูชาบรรพบุรุษผู้ล่วงลับ ให้พ้นบาป ไปสู่สวรรค์

ที่สำคัญ ต้องบริจาคต่อพราหมณ์ และเลี้ยงดู

เพราะพราหมณ์จะทำพิธีบูชา ขอให้บรรพบุรุษพ้นบาปได้ ในวันนี้

และวันเพ็ญเดือนมาฆะ ในเมือง มทุไร (MADURAI) มีพิธี

ลอยบูชาในน้ำ  (Floor Festival)

เมือง มทุไร มีโบสถ์ พระแม่ มินากษี (Minakshi) คำ มินา หรือ มีนา. แปลว่า ปลา ฉะนั้นนามนี้ จึงแปลว่า พระแม่ผู้มีเนตรงามดั่งมัจฉา แม่นาคกัลญานี  (จะไม่สาวเรื่องว่า เกี่ยวข้องกับนาคอย่างไร แต่ตำราเขาว่า

พระแม่ มินากษี คือ พระนามพระแม่ปารวตีด้วย

และวันนี้จะต้องบูชาพระแม่ กับ พระสุนทเรศวร (อีกพระนามพระศิวะ) จากนั้นลอยเทวรูปทั้งสองไปในกระแสน้ำ ดีที่สุดคือลอยไปทางทิศตะวันออก)

            จะลอยทำไม เรื่องอะไร ขืนเล่าตอนนี้ คงไม่จบแต่ละเทศกาลง่ายๆ จะรวบรวมเฉพาะ เทพ ที่ทางไทยไม่ค่อยได้ยิน มาเขียน อย่างพระอุมา พระปารวตี พระคเณศ พระศิวะ มีตำราอยู่มากแล้ว

                                    ฉะนั้นรวมความว่า วันเพ็ญ เดือน มาฆะ ทางเทพมีพิธีการ

บูชาพระ การติเกยะ กับ พระแม่ มินากษี

แต่อ่านตำรานายห้างแล้ว ไม่เข้าใจ

ทำไมมหาศิวะ ถูกลอยแพไปด้วย คงเหมือนทางไทย ลอยกระทง

กับเคยเห็น คุณยาย ลอยกระทงเดือน 3 ไม่ใช่แค่วันเพ็ญเดือนสิบสอง

คุณยายบอกว่า เพ็ญมาฆะ ลอยถวายพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์

แต่เพ็ญเดือน 12 ขอขมาต่อ ดิน น้ำ ลม ไฟ ธาตุสำคัญของโลก และตัวเรา

เทศกาลเดือน 12 ยังอยู่ แต่เทศกาลเดือนมาฆะ ไม่เห็นทำกันแล้ว

วิม-ลา