article

เทศกาลอินเดีย

            อย่าคิดว่าจะทำตำราของนายห้างกุลดิป มาลอกง่ายๆ นะ เพราะนายห้างเขียนภาษาไทยแบบคนอินเดียพูดไทย คือตัวสะกดจะแผกเพี้ยน จนต้องยึดคำจากภาษา สํ เป็นหลัก คำภาษาของอินเดีย ก็มีทั้งอินเดียเหนือ อินเดียใต้เหมือนๆ กับคำไทยกลาง – ล้านนา – อีสาน – ใต้ ต้องมานั่ง ‘ตีความ’ บอกแล้วคนทิ้งตำราไว้ให้ก็ไปเฝ้าพระผู้เป็นเจ้าเรียกแล้ว ไม่รู้จะถามยังไง

            อย่างเขียนไว้ สักตะ จูฐ น่ะ กว่าจะหาว่า เป็น จุฑา ก็เปิดพจนานุกรมทั้ง สํ ทั้ง ฮินดู

ต่อมานิทานที่ต่อท้าย พระนางรัตนาวตี กับอีกเล่มเขียน รัตนาวลี

เราก็ว่า เหมือนๆ กันแหละ จึงเลือก รัตนาวตี เพราะคำว่า วตี ไทยใช้ วดี แปลว่า นางแก้ว

หากพอทวนพจนานุกรม สํ รัตนาวตี  แปลว่า เครื่องประดับคอ น่าก็คงเป็น อัญมณี แหละ

ที่ต้องอธิบาย เพราะ ‘อย่าประมาณภาษา สํ’ เพราะเวลาแปล มันจะยุ่ง

อ่านสนุกๆ กับภาษาคั่นบ้างก็ได้ อย่างคำ มนตรี พจนานุกรมไทยแปลว่า ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้ปรึกษา แนะนำ

แต่ มนตรี ใน สํ ไม่มี มีแต่ มนตรี , มตฺริ แปลว่า ปรึกษาหารือ

ถ้า มนฺตฺริน จึงแปลว่า ที่ปรึกษา

ถ้า มนฺตฺร คือ มนตร์ เลย คำอธิบายละเอียดทำให้ได้ความรู้ .. สูตรอันเป็น บุณยะ แด่เทพองค์ใดองค์หนึ่ง (สวดมนตร์ถวาย) เช่น

            โอม วิษณเว นมห (นะ-มะ-ห คือ นมัช หรือ นมัส)

หรือคำชี้แจง มีอยู่คำหนึ่ง ‘ไศล’ เราอ่าน สะไหล (Slai) เรื่อยมา แปลว่า ภูเขา

            ที่จริงทาง สํ ผิด! คำนี้ต้องอ่าน ไศ – ละ (Saila.)

ฉนั้นในการเขียน จึงพยายามเทียบ ภาษาเขียนของนายห้างกุลดิป กับภาษา สํ อันเป็นต้นแบบของ ฮินดู ให้ชัดเจน ผู้อ่านจะได้ความรู้ว่า ‘อินเดียเขามีอะไรกัน’ และความรู้ทางภาษา สํ   ซึ่งใช้ในภาษาไทยมากเช่นกัน

            เช่น ในหนังสือ ‘อภิธาน สํ –ไทย – อังกฤษ’

            ผู้ขอร้องให้ค้นหาคำศัพท์สันสกฤต คือ ขุนโสภิตอักษรการ

และผู้ลิขิต คือ นายร้อยเอก หลวงบวรบรรณารักษ์ (นิยม รักไทย)

                        วันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2469

                        ถนน รองเมือง จังหวัดพระนคร

เราได้อาศัยอภิธานนี้เป็นคู่มือตลอดมา แม้แต่การค้นข้อความในพระเวท (เฉพาะตอน) ที่เป็นภาษาสันสกฤตอังกฤษล้วน

            ปีนี้ 2563 จวนครบ 100ปี ที่คุรุรจนา

            จึงต้องน้อมนมัสการไว้

ข้อสำคัญ บรมครู ด้านภาษาสันสกฤต

คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ท่านประทานคาถาไว้บทหนึ่ง

โอม ภควเต วาสุเดวายะ รามยะ

โอม วาสุเทวายะ (บทสั้น)

ที่เราสวดทุกคืนก่อนนอน ลองสวดบ้างไหม

วิม-ลา.