article

ตันตระสาระ 

ตันตระ แปลว่า ด้าย ร้อยเรียง สาระ คือ ถ้อยคำสำคัญ ตันตระเป็นนิกายหนึ่งในพุทธมหายานของทิเบต ตันตระสาระ กล่าวถึง การสวดมนตร์แบบ ‘ลงคะแนน’ ส่วนใหญ่ ‘คะแนน’ กันลืมนี้ มีทั้ง 108 หรือ 111 และ 11. กับ 6.

การใช้ ‘คะแนน’ กันลืม ทำได้ 2 วิธี คือ

1.ใช้นิ้วมือ

2.ใช้ เมล็ดรุทระ ซึ่งถือกันว่า ได้ผลบุญมากกว่าสิ่งอื่น

สวดมนตร์ทางศาสนาที่จารไว้ในใบลานและกระดาษสา เรียก พับ จากคัมภีร์ อัคนีปราณะ เรียก ยัป (JAPA.)อธิบายว่า

ยา (JA.) คือ ทำลายวัฏจักร แห่งการเวียนว่าย ตาย – เกิด

ปะ (Pa) คือ ทำลายบาปให้หมดสิ้น

ฉนั้นการจะให้ดวงวิญญาณ หลุดพ้นเป็นอิสระ จากทุกข์ – โศก ตาย – เกิด ก็คือต้องหมั่นสวดมนตร์ JaPa ออกเสียงรวมกันเป็น ยัป

ยับ หรือ ยัป (ออกเสียงยับแต่ขมวดริมฝีปากลงคอ คล้าย ยับ – ปะ ) มีสองชนิด คือ

วาจิกยัป (Vacika JaPa) ท่องผ่านริมฝีปาก

มานสิกยัป (Manasika JaPa) คือการสวดในใจ

จะเห็นว่า ได้เขียนภาษาอังกฤษกำกับ เพราะภาษาอังกฤษ จะเขียนแบบออกเสียง คือ วาจิกะ และ มานะสิกะ เนื่องจากถ้อยคำแปลจากคัมภีร์ พระเวท หรือ ปราณะ มาจากภาษาสันสกฤต ตัวอักษรจะออกเสียง อะ กล้ำเสมอ คิดว่าตอนท้ายๆ จะเขียนวิธีการอ่านของสันสกฤต ให้ ‘พอรู้’ บ้าง

คนเขียนเองก็ ‘พอรู้’ พออ่าน ได้บ้าง

ยังไม่ได้เรียนเป็นชิ้นเป็นอัน

ตอนนี้ได้อาจารย์ทางล้านนาแล้ว คงเรียนจริงจังเสียที

การสวดในใจ แบบ มานสิกะ ยัป. ก็มีสองวิธี คือ

สวดในใจ โดยไม่ออกเสียง ริมฝีปากไม่ขยับ ถ้าสวดในใจ ขยับริมฝีปากเรียก อุปามศุ

และสวดในใจ ผ่านลมหายใจ เข้า – ออก แบบเราสวด พุท – โธ แหละ คือทุกคำ

ต้องนับตามลมหายใจ เข้า – ออก เรียก อัยปะ  ยัป (เติมสระ อะ ให้เสียเอง)

อย่าไปจำ ชื่อเลย จะสวดแบบไหนก็ได้ สวดก็แล้วกัน ที่เขียนถึงเพื่อให้ ‘รับรู้’

เท่านั้นว่า ทางพุทธและทางพระเวทมีการสวดมันตรา อย่างไร

ถ้าเรียนๆไปจะรู้ว่า พุทธกับพระเวท แนบชิดกันยิ่ง

เพียง พุทธ มุ่งสู่ นิพพาน

หากพระเวท มุ่งสู่ พระผู้เป็นเจ้า

วิม-ลา