Your address will show here +12 34 56 78
article
เป็นเทศกาลของแคว้น แบงคาล
คำว่า ทส แปลว่า ชิ้น ส่วน
 
งานนี้เป็นของพระกฤษณะ คงแปลว่า ภาคของพระกฤษณะ
นักบวชที่แต่งชุดสีส้ม นั่นแหละ กลุ่มบูชา พระกฤษณะ
ปุรณิมา คือ วันเพ็ญ 155 ค่ำ ก็นำเทวรูปพระกฤษณะ ออกมาบูชา ด้วยเครื่องหอม ดอกไม้ แบบเดียวกับบูชาพระวิษณุเทพ
เล่นดนตรี ที่ถูกต้อง ร้องเพลง
 
แต่ตำราตอนนี้ บอกว่า ให้ร้อง ไชโยด้วย
(เรื่อง พระกฤษณะ สองเล่มโตๆ เล่าไม่ไหว)
ฉนั้น..รู้กันแล้วนะ
 
วิม-ลา
0

article

บางเทศกาลในตำราสั้นมาก ราวทำบันทึกไว้ ‘พอรู้’ เช่น อัมลัก เอกทษิ จะไม่บันทึกก็กลัว นายห้างมาสะกิด ..ทำไมไม่เขียน ..ก็บันทึกไว้ ให้รู้ว่า

อัมลัก เอกทษิ (AMALAKA EKAYASHI)

อัมลัก หรือ อัมลา (AMLA) คือ มะขามป้อม เป็นตัวยาสำคัญ แก้ท้องผูก ในตำรับยาทย คือ ตรีผล (ผล) มะขามป้อม

ฉนั้นเป็นสูตรยาสำคัญ ต้องบูชา

เอกทษิ คือวัน ขึ้น – แรม 11 ค่ำ แต่วันนี้จะทำในวันขึ้น 11 ค่ำ ของเดือน ผลคูณ

            พิธีก็อย่างเคย อาบน้ำ ถือศีลอด เอาต้นมะขามป้อมมาพรมน้ำมนตร์ สวดมนต์บูชาพระวิษณุเทพ (เขาบอกว่า ท่านประทับอยู่ใต้ต้นมะขามป้อม)

                                    จากนั้น อุทิศทาน แบบคนไทย ทำบุญ ทำทาน

                                    หากอินเดีย ต้องให้ พราหมณ์ผู้ทำพิธี (แบบถวายพระ)
วิม – ลา

0

article

วันโฮลีกะ เป็นอีกชื่อ ของวัน มักกร สันกรานติ ที่เล่าไปแล้ว แต่ว่าวัน โฮลีกะ  จัดขึ้นในวันเพ็ญของเดือน ผลคุณ คือ เดือนสี่  (กุมภาพันธ์ – มีนาคม) งานนี้จัด  2 วัน

ราตรีแรก จะมีการสุมไฟ ตอนเย็นหรือค่ำ (เหมือนวัยรุ่นเราจัดรอบกองไฟ) แต่ต้องมีการบวงสรวง ถวายน้ำ (อย่างเคยแหละ บูชาพระอัคนีเสียก่อน) แล้วถวายข้าวสาร ตรงนี้สงสัยเพราะตอนเป็นเด็ก เราใช้ข้าวเปลือกโยนเข้ากองไฟ พอแตกปะทุออกมาจะเป็นข้าวตอก แย่งกันตะครุบกิน ข้าวตอกใหม่ๆ จะหอม

แล้วก็ตีกลอง ร้องเพลง เต้นระบำ

ราตรีที่สอง จะไปเยี่ยมกัน ลืมข้อบาดหมางกัน หันหน้ามาเป็นมิตรกัน (น่าจัดงานนี้นะ)

แต่วันนี้จะสาดน้ำใส่สี ป้ายสี กันทั่วเมือง (ไม่ค่อยดีนะ) จากนั้นเลี้ยง ขนมหวานและอาหาร

เรื่องนี้มีนิทาน

กล่าวว่า มีอสูรชั่วร้ายตนหนึ่ง (ถ้าอสูร คือ อสุรา ไม่กินเหล้า จะชั่วร้ายยังไง แต่เอาเหอะ ถ้าเป็นอสูรต้องชั่วร้ายเสมอ)

อสูรตนนี้ทำสมาธิ ขอพรต่อพระพรหม

(พระพรหมจะให้เสมอ ไม่ว่าใครจะขออะไร เราจึงขอให้เจ้าโควิด หายไป)

อสูรตนนี้ ชื่อ หิรันยักสิป (คงตัวเขียนไว้ ให้รู้ว่า นายห้างเขียนตามใจจริงๆ)

พรที่ขอคือ ไม่ตายด้วยน้ำมือมนุษย์ สัตว์

ไม่ตายด้วยศาสตราอาวุธใดๆ (จรวด รถถัง เรือดำน้ำ ก็ทำอะไรไม่ได้)

ไม่ว่ายามสว่าง หรือมืด ข้างนอก ข้างใน

            แล้ว (เช่นเคย) พระพรหม ยกมือ อนุญาต

อสูรตนนี้จึงประกาศเป็น ‘กฎ’ ใครก็ตาม จะหน้าไหน ทั้ง มนุษย์ เทพ (ยกเว้นมหาเทพ) ต้องเคารพบูชา ใครไม่ทำ ตาย! ใครบ้างล่ะไม่กลัว กฎเหล็ก ก็ยอมๆ ไปงั้นๆ

    จนอสูรมี ลูกชาย ชื่อ ประหลาป (เขียนอย่างนี้ น่าจะชื่อประหลาด เพราะผิดพ่อ เป็นคนละสปีซี่เลย ใน สํ ถ้า ปรฺหลาทแปลว่า ยินดี คงยินดีตอนได้ลูกชาย) ลูกชายกลับไปศรัทธาวิษณุเทพ ท่อง แต่ ..โอม วิษณเว นมัช.. ไม่ท่อง โอม หิรัญกสิป…   ท่านอสูรโกรธมาก ลูกยังไม่ศรัทธา แล้วใครจะศรัทธา เลยสั่ง ฆ่า! จะตัดหัว ก็หนังเหนียว เอาช้างเหยียบ ช้างก็ไม่ทำ ท้ายสุดทำกุ้งย่างดีกว่า เผาเลย

(ตอนนี้แหละ พระแม่ โฮลีกะ มารองรีบไว้บนตัก)

โอม พระกุมารออกมาจากกองไฟ รอด! แต่ไม่เล่าต่อว่า จะโดนพี่ยักษ์ทำไง

แต่พระแม่ ตายในกองเพลิง (ก็อยู่บนตักไง)

เขาว่า ตาย ก็ตาย จึงเกิดวัน โฮลีกะ ป้ายสีกันเล่นไง

วิม-ลา

0

article

หลักการใหญ่ๆ มักจะประกอบพิธีในเทวาลัย หรือในสถานที่เตรียมการไว้เป็นพิเศษ การบูชาจะต้องเริ่มจากพระคเณศวร ซึ่งเป็น คณปติ เทพเจ้าแห่งความสำเร็จและขจัดอุปสรรคทั้งปวง  ตามด้วยสวดบูชาพระแม่ สรัสวตี ซึ่งเป็นเทวีแห่งศาสตร์ทั้งปวง และต่อด้วยการบูชา คุรุ อาจารย์

จากนั้นประกอบการพิธีถวายน้ำ เรียก กาลัษ (KALASA)  ษ. ฤาษี

การบูชาเทพเจ้า ด้วยสิ่งของต่างๆ เรียก ทราวยะ (DRAVAYA)

พร้อมกันต้องทำจิตตนเองให้บริสุทธิ์ยิ่ง เรียกว่า การบูชา อาตมะ (ATAMA)

            (ถวายตัวเองต่อเทพเจ้า)

ขณะผู้เข้าร่วมพิธี ต้องตั้งใจ เฝ้ามองพิธี และถวายดอกไม้สด พวงมาลัย (ดอกไม้หอม)

            หลังจากนั้นจึงประกอบพิธี โศทัศ –อุปจาร (SODASA – UPACHARA) ด้วยพิธี 16 ขั้นตอน  คือเป็นพิธีใหญ่ มีบทสวดและการถวายของ ลีลามากมาย เป็นตำราของพราหมณ์อีก 1 เล่ม คงจะย่อๆ ให้อ่านพอรู้บ้าง เพราะคงไม่มีใครจะไปเป็นพราหมณ์ ถ้าจะอยากเป็นก็ไปเรียนกับพราหมณ์ แต่ท่านก็คงไม่สอน เพราะการเป็นพราหมณ์ จะต้องอยู่ในวรรณะพราหมณ์ (ตอนนี้ก็เหลือไม่กี่ท่าน)

น็น

 

 

            อ่านพอรู้นะ ‘เขาทำอะไร’ เท่านั้น

ในพิธีการย่อมมี อาคันตุกะ คือแขกรับเชิญ ตำราให้ถือว่า ‘แขกผู้มาเยือนดั่งเทพ’

            การเชิญต้องทำในรูปการสวดมนตร์ เรียก อาวาหะนัม (ACHAMNIUM)

เชิญแขกแล้ว ก็ต้องสวดถวายที่ประทับแห่งเทพ เรียก อาสนัม (ASNUM)

พอประทับแล้ว ก็ต้องถวายน้ำล้างพระบาท คือ บาทยัม  (PADYAM)

น้ำล้างพระหัตถ์ ASNUM เหมือนกัน

แล้วถวายน้ำเสวย อาจัมนิยม (ACHAMNIYAM)

            (สะอาดมาก กันโควิด)

ขั้นตอนนี้แปลกหน่อย ..ต้องสรงน้ำชำระองค์เทพ สนานัม (SNANUM.) ..ทำไมอาบน้ำทีหลัง

            ใช้ผ้าสะอาดเช็ดองค์เทพ วัสตรัม (VASTRAM)

ถวายเครื่องทรง ทาแป้ง กระแจะจันทร์ (CHANDA)

แต่งองค์ด้วยเครื่องประดับชิ้นใหม่ ถวายดอกไม้ พวงมาลัย บุษปะมาลา (PUSAPAMLA)

จุดธูป (DHOP) ประทีป (DIPA)

ถวายอาหารร้อนๆ ไนเวทยัม (NAIVADAYAM) คำนี้ สํ ว่าเครื่องบวงสรวง

            นี่แค่เริ่มต้นนะ ต่อไปถึงเข้าการบูชา 16 ขั้นตอน มีบทสวดทุกบท และพิธีถวายทั้ง 16 พิธี

                        จำแต่ว่า การน้อมถวาย แค่สวด ‘สมรปยามิ’ พอไหม (คำเดียวแหละ)

                                                            อยากรู้ 16 ขั้นตอนคงจะต้องค่อยๆเล่า (จะทำไหวเหรอ)

วิม-ลา.

0