article

เทศกาลของศาสนาฮินดู

ลืมเรื่องนี้แล้วซิ ว่าทางฮินดู ที่เราเรียกกันว่า ทางเทพ เพราะเรานับถือ เทพ ทางฝ่ายฮินดู โดยลืมว่าเทพทางไทยก็มี เช่น พระอินทร์ไง กับเทพ.ทางจีน บางคนก็บอกเทพ.ทางคริสต์ เช่น เซนต์.ต่างๆ ซึ่งคิดว่าน่าจะแยกเล่าแต่ละศาสนา เพราะเทพต่างๆมาจาก ‘ต้นสาย’ นับขึ้นไปถึง ลัทธิ โซโรอัสเตอร์ ที่นับถือพระอัคนี จนมาถึง ฤษีบูชาไฟ

หลวงพ่อสด. พระอาจารย์ชื่อดัง ก็บูชาไฟ

เรา ‘ รับ ’ เทพต่อๆกันมา จนจำไม่ได้ว่ามาจากไหนกันบ้าง

เดวิด โบห์ม กับ รูเพิร์ต เชลเดร็ก กล่าวไว้ว่า (สองท่านเป็นนักฟิสิกส์ โนเบล ไพรซ์)

‘ ในศตวรรษที่ 21. เทวศาสตร์ วิทยาศาสตร์. จะรวมกันสนิท ’

(ไปหาอ่านซะ หรือๆไม่ก็รอให้เราอ่านจบ แล้วจะเล่าให้ฟัง)

            เมื่อเขียนแล้วว่า ปฏิทินของฮินดู แบ่งอย่างไร มีชื่อว่าอะไร การเขียนนี้จึงใช้ชื่อตามปฏิทิน อยากรู้ว่าทางไทยคือ วัน เดือน ปี อะไร ก็กลับไปเปิดอ่านอ่านทวน 2 – 3 เที่ยวจะจำได้เอง (เพราะคล้ายๆทางไทย.)

            บอกไว้แต่ต้นว่า จะเริ่มจาก ฤดู ศศิระ  คือฤดูลมหนาว (ไม่ใช่ฤดูหนาว – เหมันตะ) อยู่ราวเดือน ฆาฆะ และเดือนผลคุณ (เดือน มาฆะ อินเดียมักจะออกเสียง มารฆะ คือรัวลิ้นอยู่เสมอ) ถ้าปฏิทินไทย ก็คือ เดือนสาม – เดือนสี่ ถ้าเป็นเดือนสากลคือ มกราคม – มีนาคม

            ต้องบอกว่า ‘ตำรา’ ได้มาจากนายห้าง ร้านกุลดิป. ที่เป็นเพื่อนซี้.กับเรา (เพราะใครเคยได้ของแถม ของฝากจากแขกมั่ง บางชิ้นขอกำไร บาทเดียว เพราะการค้าการขาย ต้องมีกำไร ) ตอนนี้ นายห้างก็ ซี้.คือ มรณัง คัจฉามิ ไปแล้ว เหลือแต่ตำราให้เราเอามาใช้นี่แหละ

                                    แต่ตำรา 2 เล่ม ไม่ ‘ค่อย’ เหมือนกัน

                                    พอเราถาม (ตอนอยู่.) ก็ตอบเราหน้าตายเลย

“เล่มมีวันหยุด 68 วัน ละเอียดกว่า

เล่ม 58 วัน ย่อลงเฉพาะที่สำคัญ ค่ากระดาษ คำพิมพ์ แพง

แจกฟรี แล้วยังจะถามอีก รู้ๆแค่นั้นก็พอ”

            รู้แล้วนะ เข้าใจตรงกันนะ

            ฉะนั้นเราก็ใช้ทั้งสองเล่มมาเทียบกัน เลือกความที่ดีที่สุด มาเล่าสู่กันฟัง ใครไปอินเดียจะได้พอรู้บ้างว่าคนอินเดียเขามีงานอะไร

                                    โดยเฉพาะ งานกุมภาเมลา.

ที่มีคนในพาราณสี. นับแสน ครั้งที่แล้วเป็นล้าน

มีฤษี. ไปชุมนุมกันมากที่สุด (ยังไงๆก็ต้องเล่าฤา. มิใช่ เพราะฤาษีนุ่งลมห่มฟ้าเป็นแสนมารวมกัน)

            ในช่วงเทศกาลศิศระ เขาขึ้นต้นด้วย

ภิษมะ อัศตะมิ (BHISHMA ASHTAMI)

ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ แห่งเดือน มารฆะ คือ เดือน มกราคม – กุมภาพันธ์

ค่อยๆอ่านทีละน้อยนะ เขียนยาวก็ไม่อ่าน อ่านทีละนิดสนุกดี อ่านแล้วจะเข้าใจ ทำไมอินเดียมีเทศกาลมาก.

วิม-ลา.