article

เครื่องสาน

กระบุง,กะบุง
ภาชนะสานทึบด้วย ‘ตอก.’ คือไม้ไผ่ รูปกลม ตรงกลางป่องเล็กน้อย ก้นรูปสี่เหลี่ยม        ใหญ่กว่ากระบายเท่าตัว ขอบมีไม้เสริม ใช้เป็น ภาชนะทั่วไป.

กระบาย,กะบาย
คล้ายกระบุงแต่เล็กกว่า ทรงสูง ปากผาย ก้นสี่เหลี่ยมแล้วสาบสูง ตรงกลางไม่อ้วนแต่ผายจนถึงปากที่ไม่มีไม้ขอบ ใช้สำหรับใส่ข้าว บางทีเรียก กะทาย โบราณใช้เป็นมาตราตวง สองกระทาย หรือ กะทาย  เป็นหนึ่ง กะบุง.

กระพอก
กล่องสานรูปสี่เหลี่ยม มีฝาครอบ (ทางเหนือใส่ข้าวเหนี่ยว ทางอีสานกล่องสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใส่ข้าวเหนียวกับกับข้าว ) ใช้ใส่อาหาร (ของญี่ปุ่นเป็นไม้ไผ่สานข้างในแบ่งเป็นช่องๆ เป็นอาหารกล่อง.)

กระพ้อม, พ้อม 
เครื่องสานแบบกะบุง แต่ขนาดเล็กเท่ากะทาย แต่ที่เคยเห็นทางภาคกลาง กลับมีขนาดใหญ่มาก จนมีคำ ‘ตัวใหญ่ยังกับพ้อม.’ แปลว่า อ้วน.

กระลอม
เครื่องสานคล้ายหีบ ไว้ใส่ของ ค่อนข้างแบน ป่องกลาง ส่วนบนมีฝาปิด มีหูหิ้ว (ในตอนสงครามโลกครั้งที่สอง มีเครื่องสานแบบนี้ สานด้วยหวาย ใช้ใส่ของ เช่น เสื้อผ้า เพราะมีหูหิ้วสองข้างด้วย เรียก ตะกล้าพระตะบอง คงมาจากเขมร หากใช้กันมา เพื่อ ขนของหนีสงคราม.)

กระโลง 
เครื่องสานใส่ ข้าวสาร ข้าวเปลือก สานด้วยใบลาน (ใบใหญ่มาก.) เคยเห็นทางบ้านใช้ใส่ข้าวสารในครัว. (แต่มีฝาแบนๆปิด. ข้าวจะไม่ขึ้นรา.)

กะชะ               
มีทางใต้ เป็นภาชนะสานจำพวกตะกร้า แต่ทรงสูง ปากไม่มีขอบ

กะทอ               
ภาชนะใส่ของคล้ายชะลอม ทรงสี่เหลี่ยม น่าจะเรียก ถุง. มากกว่าเพราะทำด้วยผ้าหนาๆก็มี หนังก็มี. และปากมีหูรูด แบบย่ามที่เราห้อยไหล่ แต่กะทอของชาวเขาคล้ายชะลอม มีเชือก ห้อยไหล่ ใส่ของ

กระบวย
ภาชนะ ตักน้ำทำด้วยกะลามะพร้าว ขนาดเล็ก

กระบอก
ไม้ไผ่หนึ่งปล้อง  เจาะรูสองข้าง ร้อยเชือก ใส่น้ำ หาบไปเป็นพวงๆ (คนอินเดียใส่น้ำ แม่น้ำคงคา หาบกลับบ้าน.)

ทางไทยเคยมีคำพังเพย ‘นางกระเฌอก้นรั่ว.’ ถ้า เฌอ. เป็นต้นไม้ กระเชอ. จะเป็นภาชนะ จากไม้ได้แบบไหน หากน่าจะเป็นต้นไม้ขุด ใช้เก็บน้ำ และมีรอยแตก หรือตาไม้ จนน้ำซึมออกได้ นางกระเฌอก้นรั่ว จึงหมายความว่า เก็บอะไรไม่อยู่

พอก่อนนะ
วิม-ลา